Page 255 - kpi20542
P. 255
กรณีตัวอย่าง แต่ปัจจุบันอัตราการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่มีเพียงร้อยละ 22 ของปริมาณขยะ
มูลฝอยที่เกิดขึ้นซึ่งยังคงเป็นอัตราที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับขยะมูลฝอยที่มีศักยภาพในการ
กลับมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้นหากทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะ และ
ใช้ประโยชน์จากขยะโดยเริ่มต้นจากตนเอง ทำในครัวเรือน ขยายผลสู่ชุมชน หมู่บ้าน และต้องได้
รับความร่วมมือจากสถานประกอบการต่างๆ โรงเรียน สถานที่ราชการ ก็จะสามารถช่วยแก้ไข
ปัญหาขยะมูลฝอยได้ ประชาชนก็จะสามารถอยู่อย่างสันติสุขภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน
ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าว เทศบาลตำบลป่าบอนโดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
จึงเกิดแนวคิดที่จะทำให้ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลป่าบอน เป็นชุมชนที่มีการบริหารจัดการด้าน “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
การคัดแยกขยะ และมีการดำเนินการลดปริมาณขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด ในระดับครัวเรือน
ซึ่งเป็นแหล่งผลิตปริมาณขยะในแต่ละวัน จึงได้จัดทำ “โครงการถนนปลอดถัง” ในปีงบประมาณ
2559
การดำเนินงาน
ก่อนที่จะมาเป็นโครงการถนนปลอดถัง เทศบาลตำบลป่าบอนเริ่มต้นด้วยการคัดแยกขยะ
ในชุมชนเสียก่อน เทศบาลได้จัดตั้งคณะทำงานด้านการบริหารจัดการขยะในระดับชุมชนขึ้น
ประกอบด้วยผู้บริหาร พนักงานเทศบาล ประธานกรรมการชุมชน และภาคส่วนต่างๆ อสม.
ผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่ เพื่อบูรณาการงานทุกภาคส่วน นำไปสู่การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย
ในระดับชุมชน ดังนั้นการดำเนินงานจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนและมีหลักแนวคิดการ
จัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน นอกจากนั้นคณะทำงานยังช่วยในการค้นหา เสนอแนะปัญหาของ
ชุมชน และนำปัญหานั้นเสนอต่อเทศบาล ประสานงานระหว่างเทศบาลกับชาวบ้าน โดยนำข้อมูล
ข่าวสารจากชาวบ้านสู่เทศบาล และนำข้อมูลจากเทศบาลสู่ชาวบ้าน เป็นตัวแทนชาวบ้านในการรับ
การสนับสนุนการดำเนินงาน และตรวจสอบ
การทำงานของเทศบาล กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม
มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและ
ให้ความรู้แก่แกนนำและประชาชนในพื้นที่
ในเรื่องการจัดการด้านขยะโดยใช้หลัก 5R
ในการดำเนินงานลดปริมาณขยะตั้งแต่แหล่ง
กำเนิดระดับครัวเรือน (ต้นทาง) เพื่อพัฒนา
องค์ความรู้ให้กับแกนนำไปขยายผลในชุมชน
ของตนเองเป็นการสร้างเครือข่ายความ
ร่วมมือในลักษณะดาวกระจายของคน
สถาบันพระปกเกล้า 2