Page 241 - kpi20542
P. 241
กระบวนการเรียนรู้ ฝึกให้คิดและลงมือทำ ซึ่งก็เป็นที่มาของกิจกรรม “ชั่งหน่อไม้” โดย สกว.
ชวนชุมชนและเยาวชน ตั้งคำถามร่วมกันว่า “รู้หรือไม่ว่าป่าของชุมชนนั้นมีมูลค่ามากเท่าใด”
เป็นอีกครั้งที่ทำให้ชุมชน เด็กและเยาวชน รวมถึงอบต. ต้องกลับมาคิดทบทวนว่าป่าของตนนั้น
มีมูลค่าเท่าใด จึงเป็นที่มาของการเริ่มชั่งหน่อไม้ที่ถูกเก็บออกมาจากป่า ปรากฏว่า หน่อไม้ที่นำ
ออกมาจากป่าในแต่ละวันนั้นมีจำนวนถึง 2 ตันต่อวัน นับว่าเป็นปริมาณที่มาก ทำให้ประชาชน
ในชุมชนเริ่มมองเห็นคุณค่าของป่าชุมชนของตัวเอง ซึ่งก็ตรงตามวัตถุประสงค์ของ สกว. คือ
ต้องการให้คนในชุมชน 2 กลุ่ม ได้แก่ เด็กและเยาวชน กับ ผู้ใหญ่ในชุมชน มาร่วมมือกันคิดและ
ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนร่วมกัน โดยในช่วงแรกนั้น สกว. ได้เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงในการสร้าง “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
แกนนำ จนกระทั่งได้ไปดูงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนของจังหวัดระยอง ทำให้ชุมชน
เห็นถึงความสำคัญและความเป็นไปได้ของโครงการมากขึ้น จากการไปดูงาน สกว. ก็ได้เป็น
พี่เลี้ยงในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน ฝึกให้คิดและแสดงความคิดเห็น ยอมรับ
ความเห็นที่แตกต่าง การรายงานผลการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ การบันทึกค่าใช้จ่าย
งบประมาณ การบันทึกการประชุม โดยเด็กและเยาวชนจะมีหน้าที่เป็นผู้ช่วย และสรุปเรื่องต่าง ๆ
และนำมาเล่าให้กับผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุฟัง ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องส่งไปให้กับ สกว. เพื่อสำรวจ
ความถูกต้อง และหลังจากนั้น สกว. ก็จะคืนข้อมูลส่วนนั้นให้แก่ชุมชนเพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลใน
การดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ต่อไป
จากที่ สกว. เริ่มเข้ามาดำเนินโครงการในช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 ในปัจจุบันเด็กเยาวชนและ
ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง คิดด้วยตนเอง คิดหาแหล่งงบประมาณเพื่อมา
จัดกิจกรรมด้วยตนเองได้ ซึ่งนับว่าเป็นผลสำเร็จในการดำเนินโครงการฯ ของ อบต. และเครือข่าย
ที่สามารถสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พัฒนาเด็กและเยาวชนให้รู้สึกรักในทรัพยากรธรรมชาติ
ของตนเอง ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จนโครงการฯ ประสบความสำเร็จและได้รับรางวัล
พระปกเกล้า ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชนและประชาสังคม ในปี พ.ศ. 2560
จากการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายของอบต. พลับพลาไชยที่กล่าวมานั้น จะเห็นว่า กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม
ความสำเร็จของโครงการต่าง ๆ อบต. พลับพลาไชยเป็นเสมือนตัวกลางในการดำเนินงาน หากไม่ได้
เครือข่ายและความร่วมมือของชุมชนและเครือข่าย อบต. พลับพลาไชยก็ไม่สามารถดำเนิน
โครงการได้สำเร็จและมีรางวัลการันตีความสำเร็จดังที่กล่าวมาได้
ผลสำเร็จ
จากการดำเนินโครงการ “พลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชน” ส่งผลให้ป่าที่ได้รับ
การประกาศเป็นป่าชุมชนมีความชุ่มชื้น ป่าเขียวขึ้น ต้นไม้หนาแน่นมากขึ้น เริ่มมีสัตว์ป่าให้เห็น
มากยิ่งขึ้น เป็นผลมาจากการปลูกป่าที่ถูกวิธี และการสร้างฝายเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ป่า
สถาบันพระปกเกล้า 2