Page 237 - kpi20542
P. 237

การทำงานตามความเหมาะสมของวันและเวลาที่ถือเป็นฤกษ์ในการทำกิจกรรม ซึ่งส่วนใหญ่
                      จะถือฤกษ์จากเทศกาลสำคัญของประเทศ เช่น วันพ่อ วันแม่ เป็นต้น


                            จากบทบาทหน้าที่ของเครือข่ายและวิธีการทำงานร่วมกันของเครือข่าย ทำให้เข้าใจได้มาก
                      ขึ้นว่าเหตุใด อบต.พลับพลาไชยจึงสามารถดำเนินโครงการจนประสบความสำเร็จได้ นั่นก็เพราะ

                      การร่วมมือร่วมใจของเครือข่ายที่คอยสนับสนุนสิ่งต่าง ๆ ตามบทบาทหน้าที่และทรัพยากร
                      ทุกอย่างที่ตนมีเพื่อขับเคลื่อนงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสุพรรณบุรี
                      สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดอุทัยธานี วัดเขาดีสลัก ที่มีความรู้เรื่องพันธุ์ไม้และต้นไม้ป่า ก็ใช้

                      คุณสมบัติที่ตนมีให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ดำเนินกิจกรรม หรือสำนักงาน กศน.    “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
                      อำเภออู่ทอง ที่ให้การสนับสนุนบุคลากรครูในการขับเคลื่อนกิจกรรมการถ่ายทอดการละเล่น

                      พื้นบ้านให้แก่เด็กและได้มีกิจกรรมเสริมนอกเหนือจากการดูแลรักษาป่าไม้ หรือแม้กระทั่ง
                      สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ และมูลนิธิสยามกัมมาจล ที่ให้การสนับสนุน
                      การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน ซึ่งส่งผลให้การประสานงานในการดำเนินงานสะดวกและ

                      รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากประชาชนในพื้นที่รู้จักมักคุ้นกันมากขึ้น เป็นต้น จากการร่วมมือของ
                      เครือข่ายทั้งหมดนี้ก็ทำให้อบต. พลับพลาไชยมีศักยภาพในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ได้จน

                      ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะ โครงการ “พลับพลาไชยต้นกล้า พิทักป่าชุมชน” และได้รับ
                      รางวัลพระปกเกล้า ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชนและประชาสังคม ในปี พ.ศ. 2560

                      ความเป็นมาของ “พลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ปาชุมชน”

                            โครงการพลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชน มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 โดยเริ่มจาก

                      มูลนิธิสยามกัมมาจล และ ธนาคารไทยพาณิชย์ (ซึ่งจะเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายในการดำเนิน
                      โครงการในภายหลัง) ได้เข้ามาดำเนินโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่เรียกว่า

                      “นักถักทอชุมชน” มีจำนวนสมาชิกก่อตั้งครั้งแรก 5 คน จากเจ้าหน้าที่ของ อบต. พลับพลาไชย
                      เป็นผู้ร้อยเรียงการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับชุมชนเพื่อที่จะดำเนินงานเรื่องเด็กและเยาวชน
                      ในช่วงแรกนั้นเครือข่ายทั้งสองแห่งได้เข้ามาพูดคุยกับผู้บริหาร อบต. พลับพลาไชย และมี     กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม

                      ความคิดเห็นที่ตรงกันในการดำเนินงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ของ อบต.
                      พลับพลาไชยไปเป็นแกนนำในการเข้าร่วมและจัดทำโครงการนักถักทอชุมชน โดยในระยะเริ่มแรก

                      เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นแกนนำทั้ง 5 คนจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับกระบวนการและการดำเนินงาน
                      การพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล และ ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็น
                      ช่วงที่เริ่มมองเห็นเครือข่ายของอบต. พลับพลาไชยที่จะเข้ามาช่วยในการพัฒนาเด็กและเยาวชน

                      และภายหลังจากที่ได้มีการอบรมสร้างแกนนำนักถักทอชุมชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กและ
                      เยาวชนรุ่นที่ 1 ก็ได้มีการสานต่อโครงการโดยให้นักถักทอชุมชนรุ่นที่ 1 ทั้ง 5 คน สร้างทีมของ





                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   2 1
   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242