Page 242 - kpi20542
P. 242

จำนวนเด็กและเยาวชนเริ่มเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ มีจิตอาสาในการอนุรักษ์และดูแล
            “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
                  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่มากขึ้น อีกทั้งเด็กและเยาวชนมี พฤติกรรมเป็นไปในทางที่ดีขึ้น

                  กล่าวคือพบปัญหาเด็กทะเลาะกันน้อยลง เด็กและเยาวชนในชุมชนเริ่มเกาะกลุ่มดูแลกันมากขึ้น
                  และที่สำคัญยิ่งคือ เด็กและเยาวชนรู้จักคิดด้วยตนเอง ตระหนักถึงการดูแลรักษาทรัพยากร
                  ธรรมชาติ โดยเด็กและเยาวชนเริ่มที่จะนัดพบกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันด้วยตนเอง เช่น การเดิน

                  สำรวจป่า เป็นต้น ซึ่งเด็กและเยาวชนเหล่านี้สามารถเตรียมตัว เตรียมความพร้อมในการสำรวจป่า
                  ได้ด้วยตนเอง


                  ปัจจัยความสำเร็จ “พลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชน”

                        จากการดำเนินโครงการ “พลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชน” ของ อบต.
                  พลับพลาไชยที่ประสบความสำเร็จนั้น มีปัจจัยความสำเร็จอยู่ 3 ประการ ได้แก่


                        ประการที่ 1 การใช้ศาสตร์พระราชา คือ การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา เนื่องจาก 3 ข้อนี้
                  จะสามารถทำงานร่วมกับชุมชนได้เป็นอย่างดี เพราะ การทำงานร่วมกับชุมชนอาศัยความ
                  “เข้าใจ” เพราะหากไม่เข้าใจก็ไม่สามารถรับรู้ได้ว่า ณ ขณะนี้ชุมชนต้องการอะไร และมีปัญหา

                  อะไรที่ต้องแก้ไข และเมื่อเข้าใจแล้วต้อง “เข้าถึง” เพราะเมื่อเข้าใจแต่ไม่เข้าถึงก็ไม่มีประโยชน์
                  ในการทำงานร่วมกับชุมชน เพราะการทำงานนั้นจะไม่ยั่งยืน หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                  พยายามนำสิ่งต่าง ๆ ใส่เข้าไปให้กับชุมชนดำเนินการ สิ่งนั้นก็จะคงอยู่ระยะหนึ่งแล้วหายไป
                  เนื่องจากไม่ได้มาจากความต้องการของประชาชนในชุมชนอย่างแท้จริง และนอกจากการเข้าใจ
                  และการเข้าถึงแล้ว สิ่งต่อมาคือการพัฒนา เพราะในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ไม่มีการพัฒนา

                  ต่อยอดแล้ว ประชาชนอาจจะเริ่มตั้งคำถามและหมดกำลังใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในที่สุด ทำให้
            กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม   อย่างยิ่งสำหรับ อบต. พลับพลาไชย เพราะหากชุมชนและเครือข่ายไม่เข้มแข็งแล้วก็ยากที่จะ
                  โครงการไม่ได้รับการสานต่อและหยุดไป


                        ประการที่ 2 การมีชุมชนและเครือข่ายที่เข้มแข็ง เป็นปัจจัยที่สำคัญและเป็นข้อได้เปรียบ



                  ดำเนินการโครงการหรือกิจกรรมใด ๆ ซึ่งการที่จะทำให้ชุมชนและเครือข่ายเข้มแข็งนั้น การสร้าง
                  ความเชื่อมั่นให้แก่ชุมชนและเครือข่ายจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดย อบต.พลับพลาไชย เน้นการดำเนินงาน
                  กับเครือข่ายและชุมชนอยู่ 2 ข้อหลัก ๆ คือ การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา และแสดงให้เครือข่าย

                  และชุมชนเห็นถึงการทำงานและความสำเร็จของการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยผ่านช่องทาง
                  โซเชียลมีเดีย เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ค เป็นต้น ซึ่งเครือข่ายและชุมชนจะสามารถติดตามการดำเนิน

                  โครงการผ่านช่องทางดังกล่าวนี้ และมีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของอบต. มากขึ้น ทำให้
                  ชุมชนและเครือข่ายกล้าที่จะเดินเคียงข้างและให้ความช่วยเหลือในการดำเนินโครงการหรือ
                  กิจกรรมร่วมกับ อบต. พลับพลาไชย




                2     สถาบันพระปกเกล้า
   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247