Page 239 - kpi20542
P. 239

ดังกล่าวของทีมผู้ใหญ่ใจดีของหมู่บ้านหนองการ้อง หมู่ 11 ก็ได้ใช้เงินกองทุนหมู่บ้านและเงินทุน
                      ของตนเองในการบริหารจัดการ เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง จึงปรึกษาหารือกับชุมชนถึง

                      การบูรณาการและกระบวนการในการพัฒนาเด็กและการพัฒนาป่าของชุมชนร่วมกันขึ้น ซึ่งจาก
                      การหารือได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการปลูกป่าสร้างฝายในบริเวณพื้นที่ป่าที่ติดกับหมู่ 11 เจ้าหน้าที่
                      และผู้ใหญ่ใจดีจึงเริ่มประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะเข้าไปดำเนินการต่าง ๆ

                       ในพื้นที่ป่าได้ ซึ่งในตอนนั้นพบว่าบริเวณป่าดังกล่าวยังคงเป็นป่าสงวนที่ประชาชนไม่สามารถ
                      เข้าไปดำเนินการใด ๆ ได้ อีกทั้งยังพบปัญหาประชาชนบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร จึงได้

                      ประสานขอความร่วมมือไปที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้มา    “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
                      ช่วยสำรวจพื้นที่และทำความเข้าใจกับประชาชนที่บุกรุกพื้นที่บริเวณป่าสงวนให้แก้ปัญหา
                      การบุกรุกพื้นที่ป่าฯ และหลังจากนั้นได้ประสานสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 10 กรมป่าไม้

                      ให้ประกาศพื้นที่ป่าสงวนเป็นพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อให้คนชุมชนสามารถเข้ามาบริหารจัดการดูแลป่า
                      ของตนเองได้


                            ในช่วงปีแรกที่เริ่มดำเนินโครงการนั้นเด็กและเยาวชน ประชาชนในชุมชนร่วมกับ
                      อบต.พลับพลาไชยได้ดำเนินการปลูกป่า ซึ่งได้รับการสนับสนุนต้นกล้าไม้จากสถานีเพาะชำกล้าไม้

                      จังหวัดสุพรรณบุรีและสถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดอุทัยธานี โดยเด็กและเยาวชนจะเป็นกำลังหลัก
                      ในการดำเนินกิจกรรมและเป็นผู้เตรียมอุปกรณ์และสถานที่ในการปลูกป่า เช่น ขวดน้ำสำหรับให้
                      น้ำต้นไม้ เป็นต้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในตอนแรกคือ “การทำให้ชุมชนเข้มแข็งและสามารถ

                      ดูแลป่าของตนเองไว้เพื่อให้เป็นมรดกสู่ลูกหลาน” กิจกรรมดังกล่าวได้ดำเนินการมาอย่าง
                      ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามก่อนที่ป่าสงวนจะถูกประกาศเป็นป่าชุมชนนั้น สภาพบริเวณชายป่ามีสภาพ

                      เสื่อมโทรมแห้งแล้งมาก จึงได้มีการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจนเกิดเป็นกิจกรรมการสร้างฝ่าย
                      ในระยะเริ่มแรกได้มีการสร้างฝายเพื่อหวังว่าจะได้ฝายที่สามารถเก็บน้ำไว้ให้กับป่าได้ แต่ผลที่ได้รับ
                      ในช่วงแรกคือในช่วงฝนตกฝายมีน้ำขัง แต่ไม่สามารถเก็บน้ำได้ และมีฝายบางแห่งที่พัง ทำให้

                      เจ้าหน้าที่ร่วมถึงเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการรู้สึกท้อใจอยู่บ้าง แต่ในปัจจุบันนั้น ในป่า     กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม
                      ณ ขณะนี้มีฝายอยู่จำนวนกว่า 20 ฝาย และสิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กและ อบต. พลับพลาไชยมีกำลังใจ

                      ในการดูแลป่าไม้ต่อไปคือ เมื่อเดินสำรวจป่าพบว่า ป่าที่แห้งแล้งกลายเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์
                      มากขึ้น มีต้นไม้ มีป่ามากขึ้นรอบ ๆ บริเวณที่ทำฝาย สิ่งเหล่านี้เป็นกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ของเด็ก
                      และเยาวชน ร่วมถึง อบต.พลับพลาไชยให้มุ่งมั่นและดำเนินการดูแลรักษาป่าไม้ต่อไป

                      ทำให้โครงการปลูกต้นไม้ ทำฝาย พร้อมกับพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนสามารถ
                      ดำเนินการเรื่อยมาจนได้รับการสนับสนุนงบประมานจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และ

                      ปลัดอำเภอซึ่งมีงบประมาณในการสนับสนุนเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม และจากการสนับสนุน
                      ดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่ อบต. สามารถนำงบประมาณมาสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของเด็กและ




                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   2
   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244