Page 235 - kpi20542
P. 235

และประชาสังคม ในปี พ.ศ. 2560 ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความรู้จักกับสมาชิก
                      เครือข่ายที่ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ “พลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชน” กับ

                      อบต. พลับพลาไชย

                      เครือข่ายการดำเนินงาน  “พลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชน”

                            เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ มีประสิทธิภาพสูงสุด และตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

                      ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนร่วมถึงการรักษาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ อบต. พลับพลาไชย
                      จึงได้สร้างเครือข่ายในการทำงานขึ้น โดยเครือข่ายดังกล่าวนี้มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อน
                      ให้โครงการพลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชนให้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะ        “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ

                      หากปราศจากการร่วมมือร่วมใจของเครือข่ายเหล่านี้ และอาศัยเพียงศักยภาพของ
                      อบต.พลับพลาไชยเพียงอย่างเดียวคงไม่อาจดำเนินโครงการนี้ให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพได้อย่าง

                      ปัจจุบัน โดยเครือข่ายในการดำเนินโครงการ “พลับพลาไชยต้นกล้า พิทักษ์ป่าชุมชน” มีดังนี้

                            1) องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย มีหน้าที่ สนับสนุนเจ้าหน้าที่คอยประสานงาน
                      และเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งในการดำเนินการ


                            2) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุพรรณบุรี มีหน้าที่ ช่วยในการประสาน
                      งานเรื่องการอนุรักษ์พื้นที่ป่าชุมชน และเป็นหน่วยงานหลักในการทวงคืนพื้นที่ป่ากลับคืนสู่ชุมชน


                            3) สำนักงานประสานงานป่าไม้จังหวัดสุพรรณบุรี มีหน้าที่ สนับสนุนด้านการให้ความรู้
                      ภูมิปัญญา เกี่ยวกับพันธ์ุไม้ป่า พันธ์ุกล้าไม้ป่า การประสานการอนุรักษ์พื้นที่ป่าชุมชน ซึ่งนับว่าเป็น

                      อีกหนึ่งเครือข่ายที่สนับสนุนด้านวิชาการป่าไม้ให้กับการดำเนินโครงการ เนื่องจากหากต้องการ
                      ที่จะดูแลและอนุรักษ์ป่านั้น จำเป็นที่จะต้องมีความรู้เรื่องต้นไม้ที่จะนำมาปลูกในป่าเป็นอย่างมาก
                      ซึ่งหากไม่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวก็จะไม่เกิดประโยชน์หากมีการปลูกต้นไม้ในป่า เนื่องจากต้นไม้

                      ที่ทำการปลูกไปนั้นจะตายลงในที่สุด

                            4) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) มีหน้าที่ สนับสนุนงบประมาณและ   กรณีศึกษา: ด้านสิ่งแวดล้อม

                      ส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านการวิจัยเพื่อท้องถิ่น สนับสนุนองค์กความรู้และ
                      งบประมาณ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน ทำให้
                      สามารถประสานงานและประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโครงการฯ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็น

                      หน่วยงานหลักที่มาขับเคลื่อนการพัฒนาเด็ก ชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติให้เดินหน้าไปด้วยกันได้

                            5) มูลนิธิสยามกัมมาจล และธนาคารไทยพาณิชย์ มีหน้าที่ สนับสนุนงบประมาณและ

                      ส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน การทำงานร่วมกับเด็กและเยาวชน ผ่านโครงการ





                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   22
   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240