Page 63 - kpi19910
P. 63
53
6. กรมปศุสัตว์
7. กรมประมง
8. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ระยะเวลา : มากกว่า 15 ปี (พ.ศ. 2536-2554)
สถานะ : ได้รับการแก้ไขแล้ว
พลวัต:
ในอดีตพื้นที่ลุ่มน้ าปากพนังพบสภาพปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ า ทั้งป่าพรุ และป่า
ชายเลนเกิดปัญหา 4 น้ า 3 รส คือปัญหาน้ าท่วม น้ าแล้ง น้ าเค็ม และน้ าเปรี้ยว เนื่องจากเป็นพื้นที่
เชื่อมต่อกับทะเล ท าให้ชาวบ้านผู้ประกอบอาชีพท านา เลี้ยงกุ้ง โครงการพัฒนาลุ่มน้ าปากพนัง
อันเนื่องมาจากพระราชด าริเป็นการพัฒนาอย่างผสมผสาน เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งลุ่มน้ า
โดยต้องการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้คนในพื้นที่ที่มีอยู่ยาวนาน ยกระดับ
ความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าได้อย่าง
เหมาะสม เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับคืนมา อย่างไรก็ตามยังท าให้เกิดการได้
ประโยชน์เสียประโยชน์จากโครงการมากน้อยแตกต่างกัน โดยมีการด าเนินกิจกรรมการพัฒนาด้านต่าง
ๆ ได้มีการพัฒนาให้ดีขึ้นตามล าดับดังนี้ 1) การพัฒนาระบบชลประทาน และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อ
การป้องกันน้ าเค็ม เก็บกักน้ าจืด บรรเทาปัญหาน้ าท่วม และ ลดความขัดแย้ง ระหว่างพื้นที่นากุ้ง และ
นา เพื่อการบริหารจัดการน้ าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 2) การพัฒนา จัดวางระบบชลประทาน
น้ าเค็ม เพื่อการส่งเสริม และพัฒนาอาชีพ การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในเขตพื้นที่น้ าเค็มเนื้อที่ 60,000 ไร่
อย่างยั่งยืน โดยจะต้องไม่เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม 3) การส่งเสริมพัฒนาอาชีพ และยกระดับ
รายได้ให้แก่ราษฎร และ 4) การพัฒนา ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : เพื่อให้ สามารถ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระดับความรุนแรง : ไม่มีความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สินและร่างกาย
วิธีการแก้ไข :
กลยุทธ์ของการจัดการความขัดแย้งเพื่อแก้ไขปัญหา คือ
1. การใช้ “เวทีทางวิชาการ” เป็นเครื่องมือหลักในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การใช้เวที
วิชาการเป็นเครื่องมือหลัก สร้างเวทีการพูดคุยด้วยใช้เหตุผลและกระบวนการในการสร้างความ
สมานฉันท์ และแสวงหาทางออกร่วมกัน
2. การเปิดเผยความรู้ ความจริง ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างรอบด้านในทุก
เรื่องราว โดยเฉพาะวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในลุ่มน้ าปากพนังนี้ท าให้เห็นข้อมูลที่เป็นจริง
3. การสร้างกลไกในการจัดการปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน การพยายามหาวิธีการร่วมกัน
เพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในทางลบ