Page 62 - kpi19910
P. 62

52






                      เนื่องจากระบบนิเวศน์ถูกท าลาย ในขณะที่ชาวนากุ้งที่ได้ขยายพื้นที่ท านากุ้งรุกล้ าเข้าไปในเขตท านาก็
                      ถูกบังคับให้เลิกเลี้ยงกุ้ง จนมีการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อท านากุ้งกันอย่างกว้างขวาง ในขณะที่

                      ชาวนาก็ได้รับผลกระทบจากน้ าเสียที่ระบายออกจากบ่อเลี้ยงกุ้ง ดินเค็ม ผลผลิตตกต่ า บางรายไม่
                      สามารถท านาต่อไปได้ ประชาชนละทิ้งที่นาให้ร้าง ส่วนที่ประกอบอาชีพประมงไม่ได้ก็เข้าเมืองไปเป็น
                      แรงงานตามหัวเมืองใหญ่ นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาน้ าท่วมขังในเขตเทศบาลปากพนัง ปัญหาน้ าเสียที่
                      เกิดจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า ปัญหาการขยายตัวของวัชพืชในล าคลองและปัญหาการขาดน้ าจืด ซึ่ง

                      ประชาชนในพื้นที่ได้มีการเรียกร้องให้เปิดประตูระบายน้ าเพื่อเป็นการแก้ปัญหา แต่ก็ยังมีกระแสแห่ง
                      ความไม่พอใจเกิดขึ้นเป็นระยะ เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง (ถอดบทเรียน
                      การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในลุ่มน้ าปากพนังสู่การจัดการความขัดแย้งในลุ่มน้ าบริเวณอื่น, ม.ป.ป.)

                               จากการศึกษาพบว่า เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ขนาดใหญ่ ผลกระทบย่อมส่งผล
                      อย่างมากมาย ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบจากการเกิดความขัดแย้ง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องหาวิธีการแก้ไข
                      ปัญหาความขัดแย้งในลุ่มน้ าปากพนังที่มีผลมาจากปัจจัย 3 ประการที่สามารถเปลี่ยนแปลงความ
                      ขัดแย้งบริเวณลุ่มน้ าปากพนังไปสู่ความสมานฉันท์ ได้แก่
                               1. การใช้ “เวทีทางวิชาการ” เป็นเครื่องมือหลักในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง  การใช้เวที

                      วิชาการเป็นเครื่องมือหลักดังกล่าว ท าให้แต่ละฝ่ายยอมที่จะเข้ามาพูดคุย ทั้งรัฐ ประชาชน ผู้มีส่วน
                      เกี่ยวข้อง และเข้ามาสู่กระบวนการสร้างความสมานฉันท์ เป็นการพูดคุยด้วยใช้เหตุผลและ
                      กระบวนการในการสร้างความสมานฉันท์ และแสวงหาทางออกร่วมกัน

                                  2. การเปิดเผยความรู้ ความจริง ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างรอบด้านในทุก
                      เรื่องราว โ ดยเฉพาะวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในลุ่มน้ าปากพนังนี้ท าให้เห็นข้อมูลที่เป็นจริงใน
                      พื้นที่และความรู้ที่ถูกต้องครบถ้วนซึ่งสามารถช่วยแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นร่วมกันได้
                               3. การสร้างกลไกในการจัดการปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน การพยายามหาวิธีการร่วมกัน

                      เพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในทางลบ ความเห็นพ้องกัน
                      ร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องท าให้เกิดความเข้าใจร่วมกันและยอมเข้ามาพูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์


                      คู่ขัดแย้งหลักและจุดยืน :
                               1. ชาวบ้านจากอ าเภอปากพนัง, หัวไทร, เชียรใหญ่, ชะอวด และเฉลิมพระเกียรติต่อต้าน
                      การด าเนินการโครงการที่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การไหลเวียนของน้ าในลุ่มน้ าปากพนัง ผิดไป
                      จากธรรมชาติ มีผลกระทบรุนแรงต่อคนในพื้นที่

                               2. กรมชลประทานระบุการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ าปากพนังเพื่อการแก้ไขปัญหาน้ าท่วม


                      ผู้เกี่ยวข้องอื่น :
                               1. คณะท างานศึกษาข้อมูลการบริหารจัดการน้ า ในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ าปากพนังอัน
                      เนื่องมาจากพระราชด าริ
                               2. นักวิชาการ
                               3. นายกรัฐมนตรี

                               4. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
                               5. กรมส่งเสริมการเกษตร
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67