Page 65 - kpi19910
P. 65

55






                      ความเป็นมา :
                               มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตั้งอยู่ที่ อ าเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประมาณ

                      9,000 กว่าไร่ เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดิน แต่ได้มีราษฎรเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่ดิน
                      ดังกล่าวมานานแล้ว โดยประชาชนไปตั้งครอบครัวกว่า 900 ครอบครัว เมื่อทางราชการจะเอาพื้นที่ดิน
                      ดังกล่าวคืนเพื่อน ามาจัดสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นั้น โดยต้องให้ประชาชนที่อยู่นั้นอพยพออกไป
                      โดยในการนี้ได้มีการจ่ายค่าชดเชยสิ่งปลูกสร้างและพืชผลของประชาชน โดยมีคณะกรรมการเข้ามา

                      ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว ประชาชนส่วนหนึ่งยอมรับค่าชดเชยตามที่ทางราชการประเมินให้ และ
                      ยินยอมอพยพไปอยู่ในเขตชุมชนใหม่ที่ทางราชการจัดให้คนละ 5 ไร่ แต่ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นกับ
                      ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ยอมอพยพ และไม่ยอมรับค่าชดเชยตามข้อตกลงร่วมกัน และมีประชาชน

                      อีกกลุ่มหนึ่งอ้างว่ามีเอกสารสิทธิ์โดยทางราชการออกให้อย่างถูกต้อง หากต้องย้ายออกไปจะขอรับ
                      ค่าชดเชยเต็มราคาที่ดิน โดยทางราชการตั้งคณะกรรมการเพื่อการแก้ไขปัญหาหลายชุดยังไม่ประสบ
                      ความส าเร็จ และทางราชการได้รับการต่อต้านจากประชาชนมากขึ้น เช่น มีการรวมตัวประท้วง
                      ขัดขวางการด าเนินงานก่อสร้าง ยื่นฟ้องมหาวิทยาลัยและผู้เกี่ยวข้อง เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ว่าราชการจังหวัด
                      จึงแต่งตั้งคณะท างานเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งครั้งนี้ โดยสามารถแก้ไขปัญหาความ

                      ขัดแย้งและพูดคุยกับประชาชนได้มากขึ้น ประชาชนยอมเจรจากับทางราชการพร้อมยอมอพยพออก
                      จากพื้นที่ ยังคงเหลือประชาชนอีก 35 ครัวเรือน (ณ ปี 2542) ที่ไม่ยอมโยกย้ายออกจากพื้นที่


                      คู่ขัดแย้งหลักและจุดยืน :
                               1. ชาวบ้านในพื้นที่ก่อสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ าเภอท่าศาลา คัดค้านการต้องถูก
                      เวนคืนที่ดินที่ท ากินเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

                               2. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช

                      ผู้เกี่ยวข้องอื่น :

                               1. ผู้ว่าราชการจังหวัด
                               2. กรมที่ดิน
                               3. คณะท างานแก้ไขปัญหา
                               4. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


                      ระยะเวลา : มากกว่า 20 ปี (พ.ศ. 2535-2558)


                      สถานะ : ได้รับการแก้ไขแล้ว ชดเชยสิ่งปลูกสร้างและพืชผล ค่าเวนคืนที่ดิน


                      พลวัต :
                               มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตั้งอยู่ที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประมาณ 9,000
                      กว่าไร่ พื้นที่ก่อสร้างมหาวิทยาลัยฯ เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดิน แต่ได้มีราษฎรเข้าไปอยู่
                      อาศัยในพื้นที่ดินโดยการเวนคืนพื้นที่เลี้ยงวัว พื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของคนในพื้นที่ การ

                      เวนคืนพื้นที่ได้สร้างความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นอย่างมาก
                      จนน าไปสู่การฟ้องร้อง
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70