Page 67 - kpi19910
P. 67
57
ระดับการรับรู้ของสังคม : ระดับชาติ โดยมีการเผยแพร่ข้อมูลการคัดค้านการสร้างเขื่อนผ่านสื่อวิทยุ
โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ทางสังคม
ประเด็นขัดแย้ง :
ชาวบ้านต าบลนาหลวงเสนคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนวังหีบซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนและ
ธรรมชาติอย่างรุนแรง แต่กรมชลประทานได้ให้เหตุผลในการก่อสร้างว่าเพื่อกักเก็บน้ าไว้ใช้ในฤดูแล้ง
ความเป็นมา :
โครงการวังหีบเป็นการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ าขนาดกลาง ปิดกั้นคลองวังหีบบริเวณหมู่ที่ 1
บ้านสระแก้ว และหมู่ที่ 5 บ้านคอกช้าง ต าบลนาหลวงเสน อ าเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
เพื่อเป็นแหล่งน้ าต้นทุนเพื่อการอุปโภค-บริโภคในเขตต าบลนาหลวงเสน ตลอดจนมีปริมาณน้ าเพียง
พอที่จะปล่อยลงคลองวังหีบ โดยจะมีการบริหารจัดการน้ าในคลองวังหีบ เพื่อส่งน้ าให้ทั้งสองฝั่งของ
คลองวังหีบในเขตต าบลนาหลวงเสน ต าบลหนองหงส์ ต าบลควนกรด และต าบลนาไม้ไผ่ รวมทั้ง
เป็นแหล่งน้ าดิบส ารองเพื่อใช้ในกิจกรรมของส านักงานประปาทุ่งสง นอกจากนั้นในบริเวณพื้นที่อ่าง
จะเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า และประมงพื้นบ้านในบริเวณรอบอ่างตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยว และ
พักผ่อนหย่อนใจของราษฎรในบริเวณพื้นที่โครงการและจากนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนด้วย
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 มีรายงานข่าวว่า คณะท างานบริหารจัดการน้ าแบบมีส่วนร่วม
ในพื้นที่อ าเภอทุ่งสงและลุ่มน้ าวังหีบ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีนายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษา
นายวิวัฒน์ ศัลยก าธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ได้สรุปผล
การศึกษาให้ชะลอการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ าวังหีบออกไปก่อน เพราะไม่ชัดเจนว่าจ าเป็นต้องมี
โครงการนี้ โดยอ่างเก็บน้ าขนาดใหญ่อาจไม่ใช่ค าตอบเดียวเพราะในประเด็นความคุ้มค่าทาง
เศรษฐศาสตร์ มีประชาชนที่เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่บางส่วนเป็นที่สาธารณะได้ต่อต้านโครงการ และ
โครงการนี้ยังไม่ครอบคลุมเรื่องแก้ไขปัญหาน้ าท่วมน้ าแล้ง อ าเภอทุ่งสง และเขตชุมชนเมือง โดยให้
กรมชลประทาน เสนอทางเลือกอื่นในการบริหารจัดการน้ าให้กับชาวบ้าน
ส าหรับโครงการอ่างเก็บน้ าวังหีบเป็นโครงการชลประทานขนาดกลาง สร้างเขื่อนกั้นคลอง
วังหีบ ด าเนินงานโดยกรมชลประทานซึ่งใช้งบประมาณราว 2.3 พันล้านบาท ใช้ระยะเวลา 6 ปี(2561-
2566) และกรมชลประทานได้ให้เหตุผลในการก่อสร้างว่าเพื่อกักเก็บน้ าไว้ใช้ในฤดูแล้ง ขณะที่
นักการเมืองที่ร่วมผลักดันโครงการบอกกับชาวบ้านว่าเพื่อป้องกันน้ าท่วมเทศบาลทุ่งสง แต่โครงการนี้
ถูกคัดค้านจากชาวบ้านในพื้นที่ และไม่เห็นด้วยกับเหตุผลดังกล่าว เพราะคลองวังหีบไม่ได้ไหลผ่าน
อ าเภอทุ่งสง จึงไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับปัญหาน้ าท่วมตัวเมืองทุ่งสง ซึ่งคลองสายนี้ยังมีความงดงามทาง
ธรรมชาติ ควรที่จะอนุรักษ์และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวมากกว่า ทั้งนี้ นายวิวัฒน์ ได้รับหนังสือ
ร้องเรียนจากกลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ าเขาเหมน-วังหีบ ที่ขอให้ยกเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อน เพราะส่งผล
กระทบต่อชุมชนและธรรมชาติอย่างรุนแรง จึงได้ตั้งคณะท างานชุดดังกล่าวโดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง
ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและชาวบ้านที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ
ร่วมเป็นที่ปรึกษา คณะท างานฯลงพื้นที่ 3 ครั้งเพื่อฟังเสียงจากทุกฝ่าย และศึกษาข้อมูลรอบด้าน ซึ่ง
ผลการศึกษาระบุชัดถึงความไม่คุ้มค่าของการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ าวังหีบโดยข้อเท็จจริงทางด้าน
เทคนิคพบว่า อุทกภัยในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสงได้รับอิทธิพลโดยตรงจากลุ่มน้ าคลองท่าเลา คลองท่า