Page 69 - kpi19910
P. 69

59






                      เพราะเหตุใดถึงไม่ควรสร้างเขื่อนขึ้นในพื้นที่แล้ว ทั้งยังร่วมกันจัดเวทีแลกเปลี่ยน”ปกป้องสิทธิชุมชน
                      และผืนป่าโบราณ” หยุดเขื่อนวังหีบ ที่ริมคลองวังหีบปากทางเข้าหมู่ 1 ต าบลนาหลวงเสน อ าเภอทุ่ง

                      สง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีชาวบ้านจากจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ รวมทั้งศิลปิน และนักวิชาการ
                      เข้าร่วมประมาณ 200 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่ของทางการทั้งต ารวจนอกเครื่องแบบ ทหารและ
                      ข้าราชการ เฝ้าสังเกตการณ์ ประมาณ 30 คน การที่รัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม
                      ที่ผ่านมา ถือเป็นการปิดหูปิดตาไม่รับฟังเหตุผลและข้อเรียกร้องของประชาชนตามที่ได้พยายาม

                      น าเสนออย่างมีเหตุผลตามขั้นตอนของระบบการเมืองการปกครองตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ในขณะที่
                      การด าเนินการในพื้นที่ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคงเข้ามาในชุมชนบ้านวัง
                      หีบอย่างผิดปกติ ล่าสุด ยังโปรยใบปลิวของกลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นผู้สนับสนุนโครงการออกมากล่าวร้าย

                      กับกลุ่มชาวบ้านที่ออกมาคัดค้านโครงการ ทั้งยังอ้างถึงสถาบันเบื้องสูงอย่างไม่เหมาะสม เพียงหวังจะ
                      ปิดกั้นการแสดงออกของพวกเราในฐานะประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการที่ต้องการออกมา
                      สื่อสารกับสังคม และสาธารณะเพื่อให้รับรู้ถึงความทุกข์ร้อน และความไม่ชอบธรรมที่ก าลังจะเกิดขึ้น
                      ขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีโดยการสั่งยุติโครงการเขื่อนวังหีบในทันที และ
                      ขอให้หยุดการคุกคามชาวบ้านในทุกรูปแบบ ไม่เช่นนั้นแล้วชาวบ้านจะกระท าการทุกวิถีทางตามระบบ

                      ประชาธิปไตย และตามสิทธิอันชอบธรรมของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพื่อจะคัดค้านโครงการเขื่อนวัง
                      หีบอย่างถึงที่สุด

                      คู่ขัดแย้งหลักและจุดยืน :

                               1. ชาวบ้าน ต้องการให้ยุติโครงการสร้างเขื่อนวังหีบ เนื่องมาจากส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่
                      อยู่อาศัย รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติ
                               2. กรมชลประทาน ระบุการสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ า ส าหรับส่งน้ าให้กับพื้นที่การเกษตรใน

                      เขต อ.ทุ่งสง พื้นที่ได้รับผลประโยชน์ประมาณ 13,014 ไร่ ครอบคลุม 24 หมู่บ้าน 4 ต าบล ประมาณ
                      12,821 ครัวเรือน


                      ผู้เกี่ยวข้องอื่น :
                               1. นายกรัฐมนตรี
                               2. เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคใต้
                               3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                               4. นักวิชาการ

                               5. ผู้อ านวยการส านักพัฒนาแหล่งน้ าขนาดใหญ่
                               6. ทหาร
                               7. ข้าราชการ

                               8. เครือข่ายภาคประชาชน 24 องค์กร
                               9. รองนายกรัฐมนตรี
                               10. ปลัดอ าเภอ
                               11. ก านัน

                               12. ผู้ใหญ่บ้าน
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74