Page 74 - kpi19910
P. 74
64
15. ความขัดแย้งสร้างอ่างเก็บน้ าคลองท่าทน
พื้นที่ : หมู่ที่ 10 บ้านเผียนบน ต าบลเทพราช และฝั่งซ้ายอยู่ในเขตหมู่ที่ 10 บ้านวังสร้าน ต าบลฉลอง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประเภทความขัดแย้ง : ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (การบริหารจัดการน้ า)
ระดับการรับรู้ของสังคม : ระดับชาติ มีการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมเฉพาะในพื้นที่ และผ่านงานวิจัยได้
เป็นที่รู้จักในระดับชาติ
ประเด็นขัดแย้ง :
ชาวบ้านหมู่ที่ 10 บ้านเผียนบน ต าบลเทพราช และฝั่งซ้ายอยู่ในเขตหมู่ที่ 10 บ้านวังสร้าน
ต าบลฉลอง คัดค้านการสร้างอ่างเก็บน้ าคลองท่าทนเพื่อรองรับอุตสาหกรรม โดยกรมชลประทานระบุ
การสร้างอ่างเก็บน้ ามีประโยชน์ต่อการอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ความเป็นมา :
โครงการศึกษาความเหมาะสมของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่
ชายฝั่งทะเลภาคใต้ 2551 (กนอ.) ระบุว่า ต้องจัดหาแหล่งน้ าเพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมโดยระบุการ
จัดท าอ่างเก็บน้ าคลองท่าทน บ้านเผียนบน ต าบลเทพราช อ าเภอสิชล และการทดน้ าจากคลองพุมดวง
โดยส่งทางระบบท่อ กลุ่มบริษัทใหม่ อีก 3 บริษัทที่ศึกษา ในปี 2545 ทั้งยังระบุไว้ในวัตถุประสงค์ข้อที่
4 ว่า เป็นแหล่งน้ าดิบส ารองในการอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรมต่าง ๆ และระบุชัดว่า หัวงานเขื่อน
และอ่างเก็บน้ าฝั่งขวาอยู่ในหมู่ที่ 10 บ้านเผียนบน ต าบลเทพราช และฝั่งซ้ายอยูในเขตหมู่ที่ 10 บ้าน
วังสร้าน ต าบลฉลอง พื้นที่อ่างเก็บน้ า 855 ไร่ พื้นที่ก่อสร้างหัวงานเขื่อน 360 ไร่ พื้นที่อ่างเก็บน้ าไป
ด้านเหนือ 2 กิโลเมตร ประมาณ 81 ไร่ อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ (C) อีก 747 ไร่ อยู่ในเขตป่าเศรษฐกิจ (E)
ความยาวเขื่อนประมาณ 1,060 เมตร ความสูง 39.50 เมตร นอกจากนี้ยังระบุเพิ่มเติมว่า บ่อพักน้ า
ดิบเพิ่มพื้นที่เป็น 200 ไร่ เพื่อรองรับน้ าจากเขื่อนคลองกลายด้วย และยังพบการระบุไว้ในเอกสาร
แผนพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2553–2556 ชื่อ โครงการอ่างเก็บน้ าคลองท่าทน โครงการ
ก่อสร้าง 2 ชลประทานที่ 15 งบประมาณ ปี 2554 จ านวน 300 ล้าน ปี 2555 จ านวน 538 ล้าน
ปี 2556 จ านวน 538 ล้าน
การเกิดขึ้นของการสร้างเขื่อนคลองท่าทนพบว่า สร้างเขื่อนเพื่อเอาน้ าไปท าอุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีที่อ าเภอสิชลและอ าเภอท่าศาลา ตามการวางแผนของสภาพัฒน์ฯและการนิคมอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย ซึ่งก าหนดให้พื้นที่เหล่านี้เป็นสถานที่ก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม ตามแผนงานการ
พัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้พื้นที่ของการสร้างเขื่อนพบว่า พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์มากทั้งป่าไม้
แม่น้ าล าคลองเป็นแหล่งน้ าของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งสามารถเลี้ยงดูประชากรได้นับหมื่น
บริเวณสองฝั่งคลองท่าทนเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่เลี้ยงชีวิตคนหลายครอบครัว และที่ส าคัญคลองท่าทน
เป็นแหล่งต้นน้ าที่หล่อเลี้ยงคนข้างล่างอีกจ านวนมาก การสร้างเขื่อนนั้นเกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของ
นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างแยกไม่ออก เพราะเขื่อนคือโครงสร้างพื้นฐานที่จะน าไปสู่การเกิดนิคม
ตามมาและในการศึกษาของกรมชลประทานก็ระบุชัดเจนว่า ต้องการน าน้ าไปสนับสนุนนิคม