Page 73 - kpi19910
P. 73
63
พลวัต :
ชาวบ้านก็เริ่มคัดค้านเพราะเห็นว่าการด าเนินโครงการการไม่โปร่งใสและจะก่อให้เกิดปัญหา
แต่กรมชลประทานระบุประโยชน์เพื่อรองรับโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หลังจากนั้นเกิด
การคัดค้านมาโดยตลอด จนกระทั่งรัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการสร้างเขื่อนคลองกลายเมื่อ ปี 2551
ระดับความรุนแรง : ไม่มีความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สินและร่างกาย
วิธีการแก้ไข :
กลยุทธ์ของการจัดการความขัดแย้งเพื่อแก้ไขปัญหา คือ
1. ชาวบ้านรวมกลุ่มต่อต้านคัดค้านโดยการกดดันอย่างต่อเนื่องเพราะเห็นผลกระทบที่จะ
เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนคลองกลาย นอกจากต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังกระทบกับชุมชนจ านวนมาก คือ
ชุมชนในอ่างเขื่อน หากมีการสร้างอ่างเก็บน้ าคลองกลายจะท าให้น้ าท่วม
2. ความร่วมมือที่เกิดในการคัดค้านของชาวบ้าน กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ าคลองกลาย และมูลนิธิ
กองทุนไทย จนประสบความส าเร็จโครงการได้ยกเลิก
ปัจจัยที่จะสนับสนุนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง คือ
1. การมีส่วนร่วมตระหนักต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชน
2. ต้องการหาแนวทางจัดการทรัพยากรของชุมชนร่วมกัน
ผลกระทบที่เกิดขึ้น :
ความกังวลที่มีผลกระทบต่อชุมชน และการด ารงชีวิตในพื้นที่อาณาเขตของเขื่อน
ที่มาของข้อมูล :
1. สัมภาษณ์ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่
2. สมาคมเพื่อชีวิต “หยุดเขื่อนคลองกลาย!!! สืบชะตาสายน้ า” เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม
2547 จาก http://www.livingriversiam.org/3river-thai/other-dams/kkd.htm