Page 68 - kpi19910
P. 68
58
โลน และคลองท่าแพซึ่งไหลผ่านเมืองเทศบาลทุ่งสง โดยล าน้ าทั้งสามสายไหลไปบรรจบที่บริเวณฝาย
ควนกรดซึ่งขนาดของล าน้ าบริเวณนั้นไม่สามารถรองรับการระบายน้ าปริมาณมากได้ และฝายยังเป็น
โครงสร้างขวางการระบายน้ าอีกด้วย สิ่งที่ปรากฏคือ ฝายควรกรดช ารุดเสียหาย ตลิ่งบริเวณนั้นถูกน้ า
กัดเซาะพังทลาย และน้ าปริมาณมากที่ระบายไม่ทันได้ไหลเท้อกลับขึ้นไป ท าให้เกิดอุทกภัยในเทศบาล
ทุ่งสง ส าหรับน้ าจากคลองวังหีบนั้นไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของอุทกภัยเทศบาลทุ่งสง ขณะที่ในการ
วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์นั้นพบว่า ความคุ้มค่าบนเงื่อนไขที่ผันน้ าจากอ่างวังหีบไปผลิต
น้ าประปาของการประปาภูมิภาคสาขาทุ่งสง เป็นการผันน้ าข้ามสามลุ่มน้ าย่อย ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลัก
วิชาการบริหารจัดการน้ า อีกทั้งเป็นการผลักภาระการพัฒนาแหล่งน้ าต้นทุนให้กรมชลประทาน และมี
ผลต่อค่าก่อสร้างระบบส่งน้ าเป็นระยะทางไกล ทั้งนี้ ล่าสุดได้มีค าสั่งจากนายกฤษฎา บุญราช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เรียกงานของกรมชลประทาน ที่เคยแบ่งงานให้ นาย
วิวัฒน์ ดึงกลับไปดูแลเอง และให้กรมชลประทานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกันเดินหน้า
โครงการก่อสร้างเขื่อนวังหีบต่อเพื่อหาทางเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างรอบด้านเพื่อเร่งด าเนิน
โครงการก่อสร้างในปีนี้ ซึ่งขัดแย้งกับข้อสรุปของคณะท างานที่ได้ลงพื้นที่ไปศึกษาปัญหาการต่อต้าน
โครงการนี้ และผลการศึกษาฯ ได้รายงานไปถึง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ที่ก ากับ
ดูแลยุทธศาสตร์น้ าของประเทศ
นอกจากนี้ ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีการแต่งตั้งคณะท างานด าเนินโครงการวังหีบ
ขึ้นมาอีกครั้ง โดยคณะท างานประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ 13 คน ตั้งแต่ปลัดอ าเภอ ก านัน
ผู้ใหญ่บ้าน โดยมีปลัดอ าเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง เป็นประธาน ได้ตั้งคณะท างานจัดหา
ที่ดินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบซึ่งมีนายอ าเภอทุ่งสงเป็นหัวหน้า ซี่งท าให้แกนน าชาวบ้าน ที่ได้รับ
ผลกระทบจากโครงการนี้เตรียมตัวเดินทางมายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ท าเนียบรัฐบาลในสัปดาห์
หน้าเพื่อยับยั้งโครงการสร้างอ่างเก็บน้ าวังหีบ
วันที่ 17 ธันวาคม 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตัวแทนชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้าง
อ่างเก็บน้ า 3 แห่ง ยื่นหนังสือกับนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ขอให้ยกเลิกโครง การวังหีบ อันเนื่องมาจากพระราชด าริ อ าเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ของกรมชลประทาน หนังสือดังกล่าวระบุว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ
ไม่เห็นด้วยกับโครงการ เพราะในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นไม่ได้รับข้อมูล หรือข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับโครงการ และเห็นว่าอ่างเก็บทั้ง 3 โครงการ มีวัตถุประสงค์ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ
ของชาวบ้านในพื้นที่ ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านเคยมายื่นหนังสือกับนายวิวัฒน์ ศัลยก าธร รัฐมนตรีช่วยว่า
การเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะท างานการมีส่วนร่วม ที่มีตัวแทนชาวบ้านร่วมด้วย เพื่อ
ส ารวจพื้นที่หาทางเลือก และให้เกิดการรับฟังความคิดเห็นอย่างแท้จริง ชาวบ้านเห็นด้วยกับการ
ด าเนินการดังกล่าว แต่ต่อมาได้เปลี่ยนผู้รับผิดชอบไป จึงไม่มีความต่อเนื่อง ที่ผ่านมาชาวบ้านทั้ง
3 พื้นที่ได้มีการยื่นหนังสือคัดค้านไปยังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง หวังเพื่อให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐกับตัวชุมชน ลดความขัดแย้ง เพื่อเป็นการ
แลกเปลี่ยนข้อเท็จจริงในพื้นที่ มีการร่วมกันหาทางออก
วันที่ 24 ธันวาคม 2561 ชาวบ้านยืนยันหนักแน่นว่าจะคัดค้านการสร้างเขื่อนอย่างถึงที่สุด
พร้อมยื่นค าขาดว่า ต้องยุติโครงการดังกล่าวโดยไม่มีเงื่อนไข ชาวบ้านนอกจากรณรงค์ในข้อเท็จจริง ว่า