Page 61 - kpi19910
P. 61
51
กรณีศึกษาโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐจังหวัดนครศรีธรรมราช
11. ความคัดแย้งโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ าปากพนัง
พื้นที่ : อ าเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประเภทความขัดแย้ง : ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (การบริหารจัดการน้ า)
ระดับการรับรู้ของสังคม : ระดับชาติ มีการรับทราบของสังคมผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ อย่าง
ต่อเนื่อง โดยการรับรู้อย่างแพร่หลายผ่านงานวิจัยต่าง ๆ ในหลากหลายมิติที่สามารถสร้างความรู้ให้กับ
ประชาชน
ประเด็นขัดแย้ง :
ขณะที่การก่อสร้างทั้งระบบยังไม่เสร็จ แต่ประตูระบายน้ าใหญ่ที่กั้นแม่น้ าปากพนัง คือ
"ประตูระบายน้ าอุทกวิภาชประสิทธิ์" สร้างเสร็จไปก่อน และเปิดท าการซึ่งส่งผลให้การไหลเวียนของน้ า
ในลุ่มน้ าปากพนัง ผิดไปจากธรรมชาติ มีผลกระทบรุนแรงต่อคนในพื้นที่
ความเป็นมา :
ลุ่มน้ าปากพนัง ตั้งอยู่ในลุ่มน้ าภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นลุ่มน้ าสาขาของลุ่มน้ าหลักภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีพื้นที่รวมประมาณ 3,184 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2 ล้านไร่ ในจ านวนนี้เป็น
พื้นที่ท านากว่า 500,000 ไร่ (26%) มีประชากรอาศัยอยู่รวมกัน 600,000 คนครอบคลุมจังหวัด
นครศรีธรรมราช 11 อ าเภอ บางส่วนของจังหวัดพัทลุง และบางส่วนของจังหวัดตรัง ลุ่มน้ าปากพนังมี
ลักษณะทางกายภาพที่มีเทือกเขาด้านทิศตะวันตกของลุ่มน้ าซึ่งเป็นแหล่งก าเนิดของแม่น้ าปากพนัง
ลาดเอียงทอดตัวมาทางทิศตะวันออกจรดอ่าวไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ าอันเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่
ใหญ่ที่สุดของลุ่มน้ าปากพนัง ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ าปากพนังได้ดึงดูดคนจ านวนมากเข้ามาตั้งถิ่น
ฐานอยู่บริเวณลุ่มน้ า ส่งผลให้เกิดการพัฒนาถนนและสาธารณูปโภคกระจายทั่วพื้นที่ลุ่มน้ า และใน
ขณะเดียวกันการขยายพื้นที่ท ากินของคนจ านวนมาก็ได้ท าให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ า ป่าชายเลน
และป่าพรุ ระบบนิเวศเสียความสมดุล ส่งผลต่อวิถีการท ามาหากินของชาวบ้านบริเวณลุ่มน้ า จึงท าให้
บริเวณลุ่มน้ าเกิดปัญหาซ้ าซากเป็นประจ าทุกปี ได้แก่ ปัญหาน้ าท่วม ปัญหาการรุกตัวของน้ าเค็ม
ปัญหาการใช้น้ าจืดเพื่อการเกษตรมากเกินไป ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอาชีพท านาข้าวและท า
นากุ้งในเรื่องของการใช้น้ าและการระบายน้ าทิ้ง และปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ า จากปัญหาต่าง ๆ
เหล่านี้ ในระหว่างปีพ.ศ. 2536-2538 รัฐบาลได้ด าเนินการแก้ไขปัญหาตามแนวพระราชด าริของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมอบหมายให้กรมชลประทานด าเนินการแก้ไขและบรรเทาอุทกภัย
ในพื้นที่ลุ่มน้ าปากพนังโดยเร่งด่วน โดยการสร้างประตูระบายน้ าอุทกวิภาประสิทธิ (เขื่อนปากพนัง)
ขึ้น เพื่อแบ่งแยกน้ าจืดออกจากน้ าเค็ม เพื่อแก้ไขปัญหาการรุกตัวของน้ าเค็มสู่นาข้าว และเพื่อบรรเทา
ปัญหาน้ าท่วมที่เกิดขึ้นทุกปี การเกิดขึ้นของเขื่อนปากพนังได้น ามาซึ่งปัญหาบางอย่างด้วยเช่นกัน
กล่าวคือ ประตูระบายน้ าท าให้เกิดการแยกน้ าจืดออกจากน้ าเค็มอย่างเด็ดขาด ส่งผลให้พื้นที่น้ ากร่อย
เสียสมดุล เกิดปัญหาการลดลงของสัตว์น้ าทั้งน้ าจืดและน้ าทะเล ชาวประมงไม่สามารถหาปลาได้