Page 59 - kpi19910
P. 59
49
กรณีที่จะเปิดให้มีการจัดท าประชามติในวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ว่า มีการเชิญเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในบริเวณ
ใกล้เคียง ซึ่งไม่เห็นด้วยเพราะการบริการจัดการขยะนั้นกระทบกับชาวบ้านที่อยู่อาศัยทั้งเกาะสมุย
เพราะหากบริหารจัดการไม่ดีแล้วผลกระทบก็จะเกิดขึ้นตามมาอีก ไม่เฉพาะคนที่อยู่ในบริเวณนี้เท่านั้น
ดังนั้น การท าประชามติครั้งนี้จึงต้องท าภาพรวมทั้งหมด กล่าวคือ กระทบทั้งเรื่องของการท่องเที่ยว
ภาคประชาสังคมอื่น ๆ ทั้งนอกเกาะและในเกาะที่ควรจะมีส่วนร่วม ทั้งนี้ หลังจากนี้คงต้องรอดูผลของ
การท าประชามติในครั้งนี้ว่าจะออกมาอย่างไร อย่างไรก็ดี ระหว่างนี้คณะท างานจะเร่งจัดส่งข้อเสนอ
การจัดการขยะเกาะสมุยให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาอีกครั้ง
คู่ขัดแย้งหลักและจุดยืน :
1. ชาวบ้านต าบลมะเร็ด อ าเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่พอใจปัญหาการบริหาร
จัดการระบบก าจัดขยะบนพื้นที่เกาะสมุยของโรงเผาขยะ
2. เทศบาลนครเกาะสมุยท าการบริหารจัดการขยะในพื้นที่นั้นเป็นไปด้วยความยากล าบาก
เนื่องจากติดขัดที่ข้อกฎหมาย ท าให้การออกกฎระเบียบในระดับท้องถิ่นนั้นท าได้ยาก
ผู้เกี่ยวข้องอื่น :
1. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
2. กรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
3. กรมโยธาธิการและผังเมือง
ระยะเวลา : มากกว่า 5 ปี (พ.ศ. 2555 – 2561)
สถานะ : ไม่มีความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สินและร่างกาย
พลวัต :
ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องนี้ยังมีอยู่ระหว่างท้องถิ่นกับภาคประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาภาค
ประชาชนได้ท าข้อเสนอ เปรียบเทียบผลดี ผลเสีย รายได้ ความยั่งยืน รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ส่ง
ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยเทศบาลนครเกาะสมุยพยายามหาวิธีการแก้ไข
ระดับความรุนแรง : ไม่มีความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สินและร่างกาย
วิธีการแก้ไข :
กลยุทธ์ของการจัดการความขัดแย้งเพื่อแก้ไขปัญหา คือ
1. การเปิดเวทีประชามติเพื่อการร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกัน เนื่องจากปัญหาขยะบนเกาะสมุย
หมายถึงขยะทั้งเกาะ
2. ผู้เกี่ยวข้องมีการลงพื้นที่เพื่อติดตามปัญหาการบริหารจัดการระบบก าจัดขยะ บนพื้นที่
เกาะสมุยของโรงเผาขยะ โดยลงศึกษาข้อมูล ณ พื้นที่จริง
ปัจจัยที่จะสนับสนุนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง คือ
1. สภาพแวดล้อมบนพื้นที่เกาะสมุย