Page 89 - kpi18358
P. 89

3. บุคลากรในการตรวจราชการหรือนักวิชาการที่สนในการศึกษาผลงานเชิงการพัฒนาระบบ

               การตรวจราชการที่ด าเนินการโดยผู้ตรวจราชการระดับกระทรวงในประเด็นส าคัญเกี่ยวกับระดับของ

               การพัฒนาตามตัวแบบการพัฒนาระบบบริหารการตรวจราชการว่ามีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการ

               ปฏิบัติราชการของส่วนราชการหรือไม่ เพื่อแสดงผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาระบบการตรวจราชการตาม


               กรอบของกฎหมายและเกณฑ์มาตรฐานการตรวจราชการของประเทศที่มีการจัดระบบการตรวจราชการที่

               เป็นมาตรฐานสากลเพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาระบบการตรวจราชการที่

               เหมาะสมส าหรับประเทศไทย


               2.4 ระบบตรวจราชการในต่างประเทศ


                       ในส่วนนี้จะน าเสนอระบบการตรวจราชการของต่างประเทศ อันได้แก่ ประเทศอังกฤษ และ


               ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งระบบตรวจราชการจากต่างประเทศจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบ

               การตรวจราชการและผู้ตรวจราชการของประเทศไทย


                      2.4.1 ระบบการตรวจราชการในประเทศอังกฤษ



                       จากรายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการตรวจราชการและผู้ตรวจราชการ โดย ทศพร

               ศิริสัมพันธ์ และคณะ (2545) ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา โครงสร้าง และระบบการตรวจ

               ราชการของประเทศอังกฤษในภาพรวม ท าให้เห็นว่าอังกฤษมีความเป็นมาเกี่ยวกับการตรวจราชการอย่าง

               ยาวนานตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980  และมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ

               ราชการเรื่อยมาตามล าดับ และมีการตรวจราชการแบบเฉพาะด้าน เช่น การบริการสังคม การศึกษา

               การป้ องกันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กิจการราชทัณฑ์ กิจการต ารวจ การจ่ายผลประโยชน์ตอบ

               แทนตามระบบประกันสังคม (ทศพร ศิริสัมพันธ์ และคณะ,  2546) การตรวจราชการดังกล่าวอาจมีลักษณะ

               คล้ายกันกับการตรวจราชการในระดับกระทรวงของประเทศไทย เนื่องจากเจ้าของกระทรวงจะเป็น

               ผู้รับผิดชอบหลักในการตรวจราชการเฉพาะด้านนั้น


                       หากพิจารณาจากโครงสร้างการบริหารราชการของประเทศอังกฤษในระดับกระทรวง นอกจาก
               ส านักนายกรัฐมนตรีแล้ว อังกฤษมีหน่วยงานระดับกระทรวงทั้งสิ้น 25 หน่วยงาน ส านักงานคณะรัฐมนตรี


               (Cabinet office) เป็น 1 ใน 25 หน่วยงานนั้น ส านักงานคณะรัฐมนตรีประกอบด้วย 19 หน่วยงาน ซึ่งมีหน่วย

               ให้บริการประชาชน (Civil Service) ที่ท าหน้าที่หลักในการพัฒนาและน านโยบายรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผล

               Civil Service ได้แบ่งบทบาทการท างานเป็น 10 ด้านในลักษณะที่เรียกว่า Cross-government function โดยมี



                                                            46
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94