Page 87 - kpi18358
P. 87
ราชการภาคประชาชนเพื่อสนับสนุนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการทุกกระทรวงและผู้ตรวจราชการ
ส านักนายกรัฐมนตรีเป็นการขยายบทบาทการตรวจราชการที่จะสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่
ได้อย่างแท้จริง รวมทั้งจะท าให้เกิดการยอมรับและน าผลการตรวจราชการไปปรับปรุงแก้ไขอย่างจริงจัง
5.3 ระบบ E-Inspection หรือ ระบบการตรวจราชการโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นตัวช่วยใน
การลดช่องว่างของหน่วยงานที่อยู่ห่างไกล และช่วยรวบรวมข้อมูลของหน่วยงาน โดยจะมีการจัดท า
ฐานข้อมูลกลางขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจราชการ ซึ่งระบบ E-Inspection
จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการด าเนินงาน ความคุ้มค่า และคุ้มเวลา
สุพจน์ ทรายแก้ว (2552) ได้เสนอบทความที่วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาของระบบการตรวจ
ราชการของประเทศไทย โดยในงานได้ชี้ให้เห็นวิธีการปฏิบัติที่เป็นอุปสรรคต่อระบบตรวจราชการ รวมทั้ง
ได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบตรวจราชการ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
ปัญหาอุปสรรคของการตรวจราชการ
1. การประสานงานยังไม่สามารถประสานทั้งในแนวดิ่งและแนวขวางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะการประสานการออกตรวจราชการแบบบูรณาการ การก าหนดมาตรฐาน เครื่องมือการตรวจ
ราชการให้เป็นแนวเดียวกัน
2. หน่วยสนับสนุนการตรวจราชการยังท างานไม่เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดแคลนสิ่ง
อ านวยการบริการและขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจราชการแบบบูรณาการมุ่งผลสัมฤทธิ์
3. ขาดเกณฑ์มาตรฐานในการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ เนื่องจากมีเพียงคู่มือการตรวจ
ราชการแบบบูรณาการที่วางกรอบการปฏิบัติงานไว้ในลักษณะกระบวนการปฏิบัติการโดยสังเขป ไม่ใช่เป็น
ข้อก าหนดในเชิงมาตรฐานการปฏิบัติงานแบบสากลที่ผ่านการสังเคราะห์และก าหนดไว้เป็นทางการ
4. ปัญหาด้านข้อมูลหลายประการ เช่น การจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เป็นระบบ ไม่มีการจัดระเบียบ
หมวดหมู่ ข้อมูลไม่ทันสมัย รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานเองก็ยังมีปัญหา ขาดมาตรฐานใน
การพัฒนาและด าเนินการ
5. รายงานผลการตรวจราชการยังไม่ได้รับความสนใจจากผู้บริหารระดับสูงเท่าที่ควร ผลการตรวจ
ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ไม่มีการปฏิบัติตามข้อแนะน า และขาดการติดตามผลการตรวจในหน่วยรับตรวจว่ามีการ
ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะหรือไม่ รวมทั้งสาระของรายงานไม่เพียงพอต่อการน าไปใช้ในการตัดสินใจเชิง
นโยบายเท่าที่ควร และกระบวนการตรวจราชการไม่มีระบบติดตามผลเชิงรุก
44