Page 88 - kpi18358
P. 88
6. การมีส่วนร่วมของประชาชนยังไม่เพียงพอ แม้ว่าระบบการตรวจราชการจะเปิดช่องทางให้
ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจราชการผ่านการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน และ
คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด แต่กลไกดังกล่าวยังขาดทรัพยากรที่เพียงพอในการขับเคลื่อนการ
ด าเนินงาน
7. ปัญหาด้านสมรรถนะของผู้ตรวจราชการ ทั้งความรู้และทักษะของผู้ตรวจและบุคลากรสนับสนุน
ที่มีอยู่ไม่เพียงพอและสอดคล้องกับการตรวจราชการแบบบูรณาการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่ต้องการผู้ตรวจราชการ
และทีมงานที่มีสมรรถนะและความสามารถทั้งด้านการสอบสวน การตรวจสอบความถูกต้องตามระเบียบ
การตรวจสอบ การติดตามประเมินผลการด าเนินงาน และการประเมินขีดความสามารถและศักยภาพ และ
การให้ค าปรึกษา
8. ปัญหาการขาดแคลนอัตราก าลังและการมีภารกิจที่หลากหลายของผู้ตรวจราชการ การจัด
อัตราก าลังของผู้ตรวจราชการและบุคลากรสนับสนุนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
ผู้ตรวจราชการบางท่านรับผิดชอบพื้นที่การตรวจมากกว่า 1 เขต และยังได้รับมอบหมายงานด้านการ
สืบสวน และงานอื่น ๆ จึงส่งผลต่อการปฏิบัติตามแผนการตรวจราชการและคุณภาพการตรวจราชการ ส่วน
บุคลากรสนับสนุนยังมีอัตราก าลังที่ไม่สมดุลกับภาระงานและขาดความรู้และทักษะในเรื่องการตรวจ
ราชการ
9. ปัญหาการเข้าสู่ต าแหน่งผู้ตรวจราชการ ที่เบี่ยงเบนไปจากหลักการที่พึงจะเป็น ผู้ตรวจราชการ
บางท่านท างานด้วยใจรักและมั่นคงที่ได้รับการแต่งตั้ง แต่บางท่านอาจท างานโดยปราศจากความทุ่มเท ขาด
ความกระตือรือร้น ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตรวจราชการ นอกจากนี้ ยังมี
ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนตัวบุคคลบ่อย ท าให้ขาดความต่อเนื่องของงาน
ผู้เขียนข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบการตรวจราชการ ดังนี้
1. ระบบตรวจราชการในอนาคตของประเทศไทยต้องรวมตัวกันเป็นเครือข่ายองค์กรการตรวจ
ราชการที่มีสมรรถนะสูงที่ส่งเสริม สนับสนุนในการน านโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติเป็นไปตาม
หลักธรรมาภิบาล
2. ระบบตรวจราชการต้องให้ความสนใจในการพัฒนาค่านิยม ปรับภาพลักษณ์ใหม่ในวิชาชีพการ
ตรวจราชการ การเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการตรวจราชการผ่านการสร้างความเข้มแข็งของ
เครือข่าย พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมและยกระดับมาตรฐานระบบงานการตรวจราชการ ต้องมีการพัฒนา
องค์กรและบุคลากรให้มีสมรรถนะสูงในด้านการตรวจราชการแบบบูรณาการมุ่งผลสัมฤทธิ์
45