Page 36 - kpi17968
P. 36
25
4. สิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองในกระบวนการยุติธรรม :
เท่าเทียม ทั่วถึง เป็นธรรม ?
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับ ได้บัญญัติถึงหลักนิติธรรม
และกำหนดหลักการพื้นฐานสำคัญอย่างน้อยของหลักนิติธรรมไว้ ซึ่งหนึ่งใน
หลักการพื้นฐานสำคัญดังกล่าวก็คือ “การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค” ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนความยุติธรรมที่ทั่วถึงและ
เป็นธรรมตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหมายรวมไปถึงสิทธิในกระบวนการ
ยุติธรรมของประชาชนในกรณีที่เกิดข้อพิพาทขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
ระหว่างประชาชนด้วยกัน หรือระหว่างประชาชนกับรัฐ อย่างไรก็ตาม ในความ
เป็นจริงยังเกิดปัญหาในเรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนตั้งแต่
กระบวนการก่อนที่จะเข้าสู่การพิจารณาของศาล จนกระทั่งกระบวนการพิจารณา
คดีในชั้นศาล เช่น ความไม่เสมอภาคของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการ
ยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่คู่ความอยู่ในฐานะยากจนและมีข้อจำกัด
ในการมีทนายความที่มีความเชี่ยวชาญ ตลอดจนกระบวนการยุติธรรมที่มีความ
ล่าช้าเกินสมควรทำให้คู่กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรม
ดังนั้น การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเชิงวิชาการต่อกรณีศึกษาเกี่ยวกับ
ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน
เพื่อให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อันจะส่งผลให้การรับรองสิทธิในการ
เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรมที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ในฐานะที่เป็น
หนึ่งในสิทธิมนุษยชน ให้มีผลบังคับใช้ได้ในความเป็นจริงนั้น จึงมีความสำคัญ
ประเด็นในการประชุมกลุ่มย่อย
1. รากเหง้าของปัญหาที่ทำให้สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของ
บุคคลไม่ได้รับความคุ้มครอง
2. กรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของบุคคล
ในประเทศไทย และกรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นของ
กระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนการพิจารณาคดี
สาระสำคัญและประเด็นหลักในการประชุมกลุมยอย