Page 33 - kpi17968
P. 33

22




               ตัวอยู่ในภาคเกษตรกรรมและแรงงานนอกระบบ และปัญหาความเหลื่อมล้ำทาง

               เศรษฐกิจที่ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากมีโอกาสที่จำกัดในการเข้าถึงสวัสดิการ
               สังคมที่รัฐจัดให้ยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาทุกครั้ง
               เมื่อมีการริเริ่มกระบวนการปฏิรูปประเทศ สภาพปัญหาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า

               เป้าหมายของการพัฒนาประชาธิปไตยและการใช้หลักนิติธรรมเพื่อสร้างสังคมที่
               เป็นธรรมในประเทศไทยยังไม่บรรลุผลอย่างแท้จริง


                     ประเด็นในการประชุมกลุ่มย่อย

                      1) ปัญหาการนำหลักนิติธรรมสู่การปฏิบัติในสังคมไทย โดยเฉพาะ

                         อย่างยิ่ง การสร้างนโยบายสาธารณะ


                      2) กลไกและกระบวนการในการแก้ไขความไม่เป็นธรรมในสังคมโดยใช้
                         หลักนิติธรรม


                      3) นวัตกรรมในการปฏิรูปเพื่อสร้างเสริมและสนับสนุนการสร้างหลัก
                         นิติธรรมในสังคมประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน


                 2. วัฒนธรรมการเมืองไทยกับการใช้หลักนิติธรรม



                     การบังคับใช้หลักนิติธรรมในสังคมไทยที่ผ่านมา มักเป็นการใช้อำนาจทาง
               กฎหมายบนฐานของวัฒนธรรมการเมืองไทย ซึ่งไม่ค่อยสอดคล้องกับหลัก
               นิติธรรมเท่าใดนัก เช่น การใช้ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ในการแต่งตั้งโยกย้าย

               ตำแหน่ง การคอร์รัปชั่นโดยอาศัยระบบอุปถัมภ์ การใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม
               (abuse of power) ในทางการเมือง การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
               ทางการเมืองโดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง และการเกรงกลัวผู้มีอำนาจ

               เป็นต้น  วัฒนธรรมการเมืองไทยในลักษณะอำนาจนิยม ไพร่ฟ้า และระบบ
               อุปถัมภ์เช่นนี้ได้สืบทอดต่อกันมาในสังคมไทยด้วยความเคยชินจนกลายเป็น
               จิตสำนึกและพฤติกรรมของคนไทย


                     ดังนั้นการสำรวจและทบทวนวัฒนธรรมการเมืองไทยที่ส่งเสริมและลดทอน
               การบังคับใช้หลักนิติธรรมจึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ นอกจากนั้นยังควรพิจารณา





                 สาระสำคัญและประเด็นหลักในการประชุมกลุมยอย
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38