Page 34 - kpi17968
P. 34

23




                   ถึงผลกระทบอันเกิดจากการขาดหลักนิติธรรมในสังคมประชาธิปไตยว่า ส่งผลต่อ

                   ความน่าเชื่อถือในการใช้อำนาจทางกฎหมายและทางปกครองเพียงใด ตลอดจน
                   ควรพิจารณาถึงแนวทางการส่งเสริมการบังคับใช้หลักนิติธรรมในบริบทวัฒนธรรม
                   การเมืองไทย เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทยต่อไป


                         ประเด็นห้องย่อย


                          1. วัฒนธรรมไทยที่ส่งเสริมหรือลดทอนการบังคับใช้หลักนิติธรรมอันส่ง
                             ผลโดยตรงต่อคุณค่าของประชาธิปไตยในสังคมไทย เช่น ระบบ
                             อุปถัมภ์กับการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม หลักนิติธรรมกับการเปิดพื้นที่

                             ให้กับการเมืองภาคประชาชน


                          2. แนวทางการส่งเสริมหลักนิติธรรมบนฐานของวัฒนธรรมไทย


                    3. หลักนิติธรรมขององค์กรที่ใช้อำนาจรัฐ : ตีความ ขอบเขต

                   อำนาจ และการถ่วงดุล?


                         องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล
                   องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และเจ้าหน้าที่รัฐ มีอำนาจตีความคำว่าหลักนิติธรรมได้

                   ศาลรัฐธรรมนูญเองก็มีอำนาจในการตีความหลักนิติธรรมเช่นกัน และการตีความ
                   ของศาลรัฐธรรมนูญก็มีผลผูกพันทุกองค์กร ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญก็มีคำ
                   วินิจฉัยหลายประการที่เป็นการตีความคำว่า “นิติธรรม” และไม่ว่าจะเป็นไปใน

                   ทางหักล้างสิทธิ หรือรับรองสิทธิ ก็ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อองค์กรต่างๆ และ
                   สังคมทั้งสิ้น แม้ว่าการตีความนั้นจะแตกต่างจากการตีความขององค์กรอื่นๆ
                   ก็ต้องถือเป็นที่ยุติ และในหลายกรณีก็ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เนื่องจาก

                   ขัดและแย้งกับองค์กรอื่น

                         อย่างไรก็ตาม องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐทั้งหลายรวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญก็ล้วน

                   แล้วแต่เป็นองค์กรที่ถูกก่อตั้งโดยรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น ดังนั้น การใช้อำนาจของ
                   องค์กรเหล่านี้จึงต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนด และต้องเคารพ
                   หลักนิติธรรม ด้วยเหตุนี้ การใช้อำนาจขององค์กรต่างๆ จึงต้องมีการตรวจสอบ






                                                       สาระสำคัญและประเด็นหลักในการประชุมกลุมยอย
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39