Page 37 - kpi17968
P. 37

26




                      3. แนวทางและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้บุคคลได้รับการ

                         คุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรม


                5. คดีทุจริตทางการเมืองและหลักนิติธรรม : ความย้อนแย้งและ

               ดุลยภาพที่เหมาะสม?


                     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแทบทุกฉบับ กำหนดรับรองสิทธิของ

               ผู้ต้องหา โดยมีหลักการสำคัญ คือ การสันนิษฐานว่าบุคคลเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่า
               จะถูกพิสูจน์ว่ากระทำความผิด การคุ้มครองสิทธิในลักษณะนี้รวมกันเรียกว่า
               “นิติกระบวน” (Due process of law) ซึ่งถือเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของ
               หลักนิติธรรม และหลักการดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นในกฎหมายฉบับต่างๆ

               ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาคดี และแม้จะมีการจัดตั้งองค์กรต่างๆ เพื่อ
               พิจารณาคดีลักษณะพิเศษ แต่การกำหนดกลไกต่าง ๆ ในการใช้อำนาจของ
               องค์กรเหล่านั้น ก็จะเป็นไปอย่างจำกัดเพื่อไม่ให้ขัดต่อหลักนิติกระบวนนั่นเอง

               อย่างไรก็ตาม การยึดถือหลักการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด อาจทำให้เกิดอุปสรรค
               ในการพิจารณาคดีบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คดีการทุจริตทางการเมืองซึ่ง
               เป็นคดีที่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อประเทศและส่งผลให้การพัฒนาประชาธิปไตย

               เป็นไปอย่างไม่ราบรื่น ในการพิจารณาคดีลักษณะนี้ ถ้าหากใช้กระบวนการดำเนิน
               คดีแบบปกติ ก็อาจเป็นอุปสรรคในการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ หรือแม้
               จะมีการตั้งองค์กรพิเศษหลายองค์กรเพื่อพิจารณาคดีดังกล่าว แต่ก็มีการใช้กรอบ

               อำนาจอย่างจำกัด และมีการกำหนดกลไกที่ทับซ้อนกันจนทำให้การพิจารณาคดี
               ต้องล่าช้า


                     ด้วยเหตุนี้ จึงควรมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว เพื่อหา
               จุดสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา และความมีประสิทธิภาพในการ
               พิจารณาคดีทุจริตทางการเมืองซึ่งต้องการทั้งความรวดเร็วและถูกต้อง และอาจ

               ต้องมีกระบวนการแสวงหาพยานหลักฐานหรือหลักในการรับฟังพยานหลักฐานที่
               แตกต่างกัน ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในเรื่องกลไกของการพิจารณาคดีทุจริต
               ทางการเมือง ตลอดจนกรอบอำนาจหน้าที่ขององค์กรที่เกี่ยวข้องในการพิจารณา

               คดีดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักนิติธรรม





                 สาระสำคัญและประเด็นหลักในการประชุมกลุมยอย
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42