Page 35 - kpi17968
P. 35

24




               ถ่วงดุลกัน ตั้งแต่ที่มาซึ่งต้องมีความชอบธรรม การใช้อำนาจ และการ

               ตรวจสอบการใช้อำนาจ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งผูกขาดการใช้อำนาจ
               ตีความหลักนิติธรรมจนกลายเป็นการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ และเมื่อร่าง
               รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้กำหนดให้องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐต่างๆมีเขตอำนาจที่

               แตกต่างไป เช่น การเพิ่มอำนาจสมาชิกวุฒิสภา การเพิ่มอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
               ฯลฯ อีกทั้งได้มีแนวโน้มกำหนดกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐใหม่ จึงควรมีการ
               แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นเรื่องการใช้อำนาจขององค์กรต่างๆ ในแง่การ

               ตรวจสอบถ่วงดุล ทั้งในเรื่องการเข้าสู่อำนาจ การใช้อำนาจ และการตรวจสอบ
               การใช้อำนาจ ทั้งการตรวจสอบภายในองค์กรเอง ตรวจสอบโดยองค์กรอื่น และ
               ตรวจสอบโดยภาคประชาชน


                     ประเด็นในการประชุมกลุ่มย่อย


                      1. การตีความคำว่า “หลักนิติธรรม” โดยองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐต่างๆ โดย
                         เฉพาะอย่างยิ่งการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ และผลของการตีความ
                         ดังกล่าว


                      2. ผลกระทบของการตีความหลักนิติธรรมโดยศาลรัฐธรรมนูญต่อสังคม
                         และองค์กรอื่น ๆ ทั้งในด้านผลผูกพัน และการบังคับการตามคำ

                         วินิจฉัย ตลอดจนความเชื่อมั่นของสังคมที่มีต่อศาลรัฐธรรมนูญอัน
                         เนื่องมาจากคำวินิจฉัย


                      3. กลไกการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐเพื่อให้เป็นไปตามกติกาที่
                         รัฐธรรมนูญกำหนด และอยู่ภายใต้หลักนิติธรรม ตั้งแต่การเข้าสู่

                         อำนาจ การใช้อำนาจ และการตรวจสอบการใช้อำนาจ ทั้งการตรวจสอบ
                         โดยองค์กรเอง ตรวจสอบโดยองค์กรอื่น และตรวจสอบโดยภาค
                         ประชาชน















                 สาระสำคัญและประเด็นหลักในการประชุมกลุมยอย
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40