Page 410 - kpi17073
P. 410

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   409


                      ระหว่างข้าราชการประจำกับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่เรียกว่า”ระบอบประชาธิปไตย
                      ครึ่งใบ” 11


                            ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบยุติลงเมื่อพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติไทย
                      เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งทั่วไป 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ภายใต้การนำ

                      ของพลเอกชาติชาย ที่ไม่มีผู้นำฝ่ายทหารร่วมรัฐบาลด้วย ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันและระแวง
                      กันระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายกองทัพ จนนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลพลเอกชาติชายด้วยการทำ

                      รัฐประหารนำโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งมีพลเอก สุจินดา คราประยูร
                      เป็นผู้นำคนสำคัญ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534


                            ภายหลังการทำรัฐประหาร พ.ศ. 2534 คณะนายทหาร รสช. ต้องการจะสืบทอดอำนาจ
                      ทั้งๆที่ประกาศว่าจะไม่สืบทอดอำนาจ จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงรัฐบาลพลเอก สุจินดา

                      เริ่มตั้งแต่พลเอกสุจินดา เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 การ
                      ชุมนุมประท้วงรัฐบาลพลเอกสุจินดา ยืดเยื้อต่อเนื่องและมีประชาชนเข้าร่วมชุมนุมประท้วงจำนวน
                      เรือนหมื่นเรือนแสนบานปลายเป็นเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อรัฐบาลใช้กำลังทหารเข้าสลาย

                      ผู้ชุมนุมประท้วงบนถนนราชดำเนินกลาง ซึ่งมี พลตรี จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรม
                      เป็นแกนนำของผู้ชุมนุมประท้วง เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 มีผู้ชุมนุมผู้บาดเจ็บ

                      ล้มตายจำนวนมาก แต่ผู้ชุมนุมส่วนที่เหลือไม่ยอมแพ้ 3 วันต่อมา (วันที่ 20 พฤษภาคม)
                      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้พลเอก สุจินดา และพลตรี จำลอง เข้าเฝ้าฯ เรื่องร้ายจึงยุติลง
                      พร้อมกับพลเอก สุจินดา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.

                      2535
                            12

                            หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 การเคลื่อนไหวเรียกร้องโดยนักวิชาการและ
                      ประชาชนผู้สนใจการเมืองให้มีการปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยและปลอดการทุจริต
                      มีกระแสแรงมาก มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง และครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2538

                      กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ  ซึ่งลงเอยด้วยการ
                                                                                             13
                      ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540


                            ในภาพรวม การเมืองไทยในช่วง 40 ปีแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

                      เป็นการเมืองในระบอบเผด็จการโดยผู้นำหรือโดยกลุ่มชนชั้นนำ เป็นการเมืองในตัวแบบฟาสซิสต์
                      ผู้นำมีบทบาทโดเด่นประชาชนมีบทบาทน้อยมาก การเมืองในช่วงนี้จะลงตัวหรือเข้าสู่ดุลยภาพเมื่อ
                      ผู้นำฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีชัยเหนือผู้นำอีกฝ่ายหนึ่งโดยแจ้งชัด เช่น เมื่อคณะราษฎร พ.ศ. 2475

                      คณะรัฐประหาร(นำโดยพลโท ผิน ชุณหะวัณ) พ.ศ. 2490 หรือจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ.
                      2500 ยึดอำนาจสำเร็จ และปราบปรามฝ่ายตรงข้ามจนยอมแพ้


                         11   เพิ่งอ้าง หน้า 79-208
                         12   สารคดี รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย (กรุงเทพฯ โรงพิมพ์กรุงเทพ 2543) หน้า 178-244

                         13   ดู คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) ข้อเสนอกรอบความคิดในการปฏิรูปการเมืองไทย (กรุงเทพฯ    การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
                      สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2538)
   405   406   407   408   409   410   411   412   413   414   415