Page 414 - kpi17073
P. 414

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   413


                            การทุจริตคอร์รัปชั่นก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จูงใจและดึงดูดให้นักการเมืองหวงแหนอำนาจ
                      เพราะมีช่องทางหาผลประโยชน์ได้มาก กระทำได้ง่ายและมีความเสี่ยงน้อย เนื่องจากสามารถ

                      กำหนดนโยบายให้สอดรับกับผลประโยชน์ส่วนตนของตนที่เรียกว่า “ทุจริตเชิงนโยบาย” ดังกรณี
                      ของนโยบายที่ปรากฏเป็นคดีฟ้องร้องในศาล เช่น กรณีซื้อขายหุ้นและโอนหุ้น โครงการจัดซื้อ
                      จัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารและเครื่องตรวจสอบระเบิด

                      ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการจัดซื้อต้นกล้ายางและการดำเนินการปลูกยาง โครงการแปลง
                      ค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมและเรื่องอื่นๆ ฯลฯ
                                                                                               18

                            นอกจากนี้ การรุกในทางนโยบายอย่างแข็งกร้าวของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยยังทำให้เกิด
                      ปฏิกิริยาอย่างกว้างขวางและรุนแรงจากสถาบันอื่นที่เคยมีส่วนแบ่งในอำนาจมาก่อน เช่น กลุ่ม

                      อำนาจเก่า พรรคการเมืองแนวอนุรักษ์นิยม ทหาร ข้าราชการระดับสูง กลุ่มทุนฝ่ายอนุรักษ์นิยม
                      ดังนั้น จึงเกิดการขัดขวาง คัดค้านรัฐบาลพรรคไทยรักไทยหรือพรรคตัวแทน อย่างกว้างขวาง

                      ด้วยวิธีการทางสภาและนอกสภา

                            ในทางกลับกัน พรรคไทยรักไทยและพรรคการเมืองในร่างทรงของพรรคไทยรักไทย

                      ก็ขับเคี่ยวต่อสู่กับพรรคฝ่ายตรงข้ามด้วยการปลุกระดมมวลชนรากหญ้าเข้าสู้ฝ่ายอนุรักษ์และ
                      ฝ่ายอำนาจเก่าด้วยข้ออ้างที่ว่าทอดทิ้งชาวชนบทให้ตกทุกข์ได้ยาก และดูถูกเหยียดหยามชาว

                                                  19
                      ชนบทว่าเป็น “ไพร่” ไร้ปัญญา  ดั่งวาทกรรมที่กลุ่มเสื้อแดงใช้ในการปลุกระดมมวลชน โดยกลุ่ม
                      เสื้อแดงแทนตัวเองว่า “ไพร่” และให้ฉายาฝ่ายตรงข้ามว่า “อำมาตย์”


                       น  า  ก้  ป   า  า  ั   ้

                            เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝักฝ่ายต่างๆขึ้นแล้ว โดยที่แต่ละฝ่ายต่างก็มีฐานกำลัง
                      สนับสนุนกว้างขวางและไม่ยอมอ่อนข้อให้แก่กันและกัน แนวทางแก้ไขคือการสร้างกติกาที่ทุกฝ่าย

                      ยอมรับได้และมีความเป็นธรรม ความเป็นธรรมในที่นี้หมายถึงการยึดหลักเสรีภาพ เสมอภาค
                      และภราดรภาพ คือทุกฝ่ายมีพื้นที่สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติ อย่างมีศักดิ์ศรีตาม

                      ความรู้ความสามารถ และความอุตสาหะแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน


                            พิจารณาในเชิงโครงสร้างจากกรณีศึกษาประเทศอังกฤษ คือการมีสภาขุนนางเป็นสภาที่มา
                      จากการแต่งตั้งและการสืบทอดตำแหน่งตามสายเลือดโดยไม่มีวาระในการดำรงตำแหน่ง ทำหน้าที่
                      สร้างดุลอำนาจในทางนิติบัญญัติด้วยการคานอำนาจและถ่วงดุลกับสภาสามัญที่มาจากการเลือกตั้ง

                      มีพรรคการเมืองที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประชาชนกลุ่มอาชีพต่างๆ มีระบบ
                      ราชการที่เข้มแข็งและเป็นกลางทางการเมือง มีศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระ และมีสื่อมวลชนที่เสรี



                         17   เอนก เหล่าธรรมทัศน์, ทักษิณา-ประชานิยม (กรุงเทพฯ: มติชน, 2549 หน้า 133-154)
                         18   ดู คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ฝากไว้ในแผ่นดิน (กรุงเทพฯ
                      สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน, 2550)
                         19   ธนาคารเครดิตสวิส เปิดเผยว่าประเทศไทยติดอันดับ 6 ของประเทศที่มีการกระจายราบได้ไม่เป็นธรรมของ
                      โลก กล่าวคือใน พ.ศ. 2557 คนรวยที่สุด 10 เปอร์เซ็นแรกของประเทศ ครองทรัพย์สินถึง 75 เปอร์เซ็นของทั้ง  การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
                      ประเทศ ใน โพสต์ทูเดย์ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557 หน้า เอ 9
   409   410   411   412   413   414   415   416   417   418   419