Page 409 - kpi17073
P. 409
408 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
และพรรค สาระสำคัญของฟาสซิสม์และนาซีคือการให้ความสำคัญกับผู้นำและมองกลุ่มพลัง
ทางการเมืองฝ่ายอื่นเป็นศัตรูที่ต้องกำจัดให้หมดไป ไม่อาจอยู่ร่วมกันในระบบได้ 9
โดยสรุปดุลยภาพในระบบการเมืองแนวฟาสซิสต์เกิดขึ้นได้ภายใต้การสยบยอมของกลุ่ม
ต่างๆ ต่ออำนาจเบ็ดเสร็จของผู้นำแต่เพียงเงื่อนไขเดียว
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนมาใช้ในการศึกษา เรียบเรียง และวิเคราะห์ปัญหา
ความขัดแย้งทางการเมือง ในที่นี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากกฎหมาย ตำรา เอกสารทางราชการ
บทความทางวิชาการ รายงานข่าว การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องและนักวิชาการ และช่องทาง
อื่นๆ
การนำเสนอรายงานการวิจัย แบ่งเป็น 6 บท รวมทั้งบทนำ ดังนี้ บทนำว่าด้วยประเด็น
ปัญหา ระเบียบวิธีวิจัย และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 1 ว่าด้วยแนวคิดทฤษฎีในการ
วิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้ง บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคร่วมสมัย พ.ศ. 2475-2535
บทที่ 3 ว่าด้วยการวิเคราะห์การเมืองไทยหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบัน
บทที่ 4 ว่าด้วยการสร้างดุลยภาพทางการเมืองดุลยภาพทางสังคม กรณีศึกษาประเทศอังกฤษและ
จีน และบทที่ 5 บทสรุปและเสนอแนะ
ความเป็นมาเกี่ยวกับการเมืองไทยยุคร่วมสมัย
พ.ศ. 2475-2535
ในอดีตนับจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา คณะทหารได้มี
บทบาทอย่างสำคัญในการปกครองประเทศไทย ระบบดังกล่าวถูกต่อต้านจากนักการเมือง นักวิชาการ
และขบวนการนักศึกษาที่นิยมประชาธิปไตยเป็นครั้งคราว และถูกโค่นล้มไปเมื่อเกิดเหตุการณ์
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ที่มีขบวนการนักศึกษาเคลื่อนไหวต่อต้าน
10
หลังจากรัฐบาลทหารถูกโค่นล้มไปในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ระบบการเมือง
เปิดกว้างให้นักการเมืองและกลุ่มพลังต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง การเมืองในช่วงนั้น
ค่อนข้างวุ่นวายยังไม่ลงตัว ประกอบกับภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์รุนแรง ทำให้ขบวนการ
นักศึกษาและขบวนการฝ่ายซ้ายถูกปราบปรามและทหารเข้ามากุมอำนาจการเมืองอีกครั้งใน
เหตุการณ์ความรุนแรง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 อย่างไรก็ดี การรอมชอมสร้างความปรองดอง
ภายในชาติได้เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ หลังการรัฐประหาร 20 ตุลาคม
พ.ศ. 2520 การสร้างความปรองดองภายในชาติได้ดำเนินต่อไปในสมัยรัฐบาลพลเอก เปรม
ติณสูลานนท์ (มีนาคม พ.ศ. 2523-สิงหาคม พ.ศ. 2531) โดยอาศัยวิธีการร่วมกันใช้อำนาจรัฐ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 10 เพิ่งอ้าง หน้า 441-443.
9
Niyom Rathamarit, Re-establishing Democracy: How Kriangsak and Prem Managed Political Parties
(Nonthaburi:King Prajadhipok’s Institute, 2006), pp.7-62.