Page 406 - kpi17073
P. 406
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 405
แสดงออกมาก และเป็นที่เคารพของเสียงข้างมาก นอกจากนี้ สังคมที่ปกครองตามตัวแบบ
พหุนิยมหรือแนวประชาธิปไตยนี้ยังมีจุดแข็งอีก 2 ประการ คือ 1. เป็นระบบที่จำกัดขอบเขตการ
กระทำของผู้นำ คือเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจจำกัด 2. ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยสามารถอุทธรณ์ร้องเรียนต่อ
ประชาชนได้
ในทัศนะของนักทฤษฎีพหุนิยม สังคมที่ประชาชนไม่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นสมาคม
มากมายหลากหลาย จำนวนหมื่นจำนวนแสน จะเป็นสังคมที่อันตรายต่อการถูกปลุกระดมโดย
นักปลุกระดมมวลชนได้ง่าย เพราะมวลประชาชนไม่มีกลุ่มหรือสมาคมให้ยึดเหนี่ยว ยิ่งสังคม
มีปัญหา ประชาชนยากจน ขาดช่องทางประกอบอาชีพที่ดีพอ รู้สึกว่าถูกเหยียดหยามดูหมิ่น
ยิ่งง่ายต่อการตกเป็นเหยื่อของการปลุกระดม ไม่ว่าการปลุกระดมนั้นจะมีเหตุผลหรือไม่ก็ตาม
เพื่อให้มวลประชาปลอดจากการถูกปลุกระดมจากนักปลุกระดม นอกจากสังคมจะต้องมีการรวม
ตัวรวมกลุ่มกันแล้ว การให้การเรียนรู้ผ่านทางช่องทางสื่อสารชนิดต่างๆ เป็นสิ่งที่ควรกระทำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทางระบบโรงเรียน เนื่องจากสังคมโดยทั่วไปประชาชนส่วนใหญ่จะไม่สนใจ
การเมือง มีประชาชนจำนวนน้อยเท่านั้นที่สนใจการเมือง 4
ทฤษฎีมาร์กซิสต์ มองการเมืองเป็นเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างชนชั้น 2 ชนชั้น
ที่ไม่เท่าเทียมกัน ขัดแย้งกัน ฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต คือเป็นเจ้าของที่ดิน เครื่องจักร
เงินทุน วัตถุดิบ กับอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นผู้ขายแรงงานหรือผู้ออกแรงกระทำการผลิต ในความ
สัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่ายที่ว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นสังคมศักดินาหรือสังคมทุนนิยม ล้วนเป็นความสัมพันธ์
เชิงขัดแย้งเป็นหลัก เนื่องจากเป็นความสัมพันธ์ที่ฝ่ายเจ้าของปัจจัยการผลิตเอารัดเอาเปรียบ กดขี่
ขูดรีด ฝ่ายผู้ขายแรงงาน กล่าวคือฝ่ายเจ้าของปัจจัยการผลิตแสวงหาส่วนเกินจากผลการผลิตของ
แรงงาน ความสัมพันธ์ดังกล่าวสร้างความทุกข์ยาก สร้างความเดือดร้อน ขณะเดียวกันก็สร้าง
ความตื่นตัว และความเจ็บแค้นทางชนชั้นให้กับฝ่ายผู้ขายแรงงาน ดังนั้น ฝ่ายที่เสียเปรียบเมื่อ
ความทุกข์ยากเพิ่มมากขึ้นๆ โดยธรรมชาติ ย่อมจะต้องลุกฮือทำการปฏิวัติโค่นล้มทำลายล้างฝ่าย
ที่เอารัดเอาเปรียบให้สูญสิ้นไป เพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ยากของตนให้หมดไป
5
อย่างไรก็ดี การพยากรณ์ว่าในสังคมอุตสาหกรรมจะเกิดการปฏิวัติโค่นล้มชนชั้นนายทุนโดย
ชนชั้นกรรมาชีพ แต่ปรากฏการณ์เช่นนั้นไม่เกิดขึ้นดั่งที่เจ้าของลัทธิพยากรณ์ไว้ ในกรณีนี้ ได้มี
การเสริมเติมลัทธิด้วยแนวคิดของเลนินและแนวคิดของเหมาเจ๋อตงในการปฏิวัติสังคม ถ้าเป็น
ลัทธิเลนินก็ต้องใช้วิธีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาเป็นแกนนำของชนชั้นกรรมาชีพ ใช้ประโยชน์
จากความตื่นตัวทางชนชั้นของขนชั้นกรรมาชีพ ชี้นำการปฏิวัติโค่นล้มเจ้าที่ดินหรือชนชั้นนายทุน
6
ด้วยพลังมวลชน แต่ถ้าเป็นแนวคิดเหมาเจ๋อตงหรือเมาอิสต์กรณีสู้รบในเมืองสู้ฝ่ายผู้ปกครอง
4 เพิ่งอ้าง หน้า 129-137.
5 Karl Marx, “Manifesto of the Communist Party” in Robert C. Tucker (ed.), The Marx and Engels
Reader (New York: W.W. Norton and Co., 1972), pp. 335-345.
6 ดู Alfred G. Meyer, Leninism (New York: Praeger Publishers, 1962), pp. 19-56. การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5