Page 407 - kpi17073
P. 407

406     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ไม่ได้ ก็ต้องใช้วิธีการสู้รบแบบสงครามกองโจรหรือใช้ยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมือง 7


                       การสร้างดุลยภาพภายใต้ทฤษฎีมาร์กซิสต์ คือพรรคคอมมิวนิสต์จะต้องผูกขาดการนำ
                  ควบคุมการนำ พรรคการเมืองอื่น กลุ่มการเมืองอื่น ชมรมหรือสมาคมอื่น ถ้ามี จะดำรงอยู่ได้
                  ล้วนต้องยอมรับอำนาจและยอมรับการนำของพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น จะวางตัวเป็นคู่แข่ง

                  ทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ไม่ได้


                       ทฤษฎีฟาสซิสต์ ตามที่มุสโซลินีเขียนและตีพิมพ์ใน the Encyclopedia Italiana ค.ศ.
                  1932 มีเนื้อหาประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ส่วนที่ว่าด้วยแนวความคิดพื้นฐาน และอีกส่วนหนึ่งว่า
                  ด้วยหลักการทางการเมืองและทางสังคม ในบทความนี้ มุสโซลินี พยายามพิสูจน์ให้เห็นว่าทฤษฎี

                  ทางสังคมที่ลัทธิฟาสซิสต์ถือว่าไม่ถูกต้องไม่ควรยอมรับนั้นเป็นสิ่งผิด  และเพื่อที่จะอธิบายเนื้อหา
                                                                                 8
                  ของลัทธิฟาสซิสต์ โดยเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยรัฐ ในเบื้องแรก มุสโซลินีกล่าวว่า ลัทธิฟาสซิสต์เป็น

                  ขบวนการที่ไม่มีหลักการที่กำหนดขึ้นชัดเจนแน่นอน การกระทำเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจดูความ
                  เหมาะสม กระนั้นก็ตาม มีศรัทธาบางอย่างที่บุคคลพร้อมจะต่อสู้และยอมตายเพื่อการนั้น และ
                  เมื่อขบวนการคืบหน้าไป หลักการก็เกิดขึ้น รูปแบบของหลักการถูกปรุงแต่งโดยปฏิกิริยาการ

                  สนองตอบต่อปัญหาที่กดบีบในเวลานั้น ในตอนนั้น มุสโซลินีถือว่า ลัทธิฟาสซิสต์เป็นทั้งระบอบ
                  การปกครองและลัทธิแล้ว ลัทธิฟาสซิสต์ปฏิเสธทั้งความเป็นไปได้และความน่าพึงปรารถนาของ

                  สันติภาพ สงครามเท่านั้นทำให้มนุษย์มีความตื่นตัวและมีพลังสูงสุด มุสโซลินีให้ความนับถือ
                  สำหรับคนที่มีความกล้าที่จะเผชิญกับสงคราม ลัทธิฟาสซิสต์ปฏิเสธการตีความประวัติศาสตร์ว่า
                  ถูกกำหนดโดยวัตถุวิสัย ลัทธิฟาสซิสต์เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และความกล้าหาญแบบวีรบุรุษ

                  กระทำการโดยไม่เกิดจากแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ และสิ่งนี้ไม่มีความสำคัญ


                       ลัทธิฟาสซิสต์ไม่เพียงปฏิเสธหลักการพื้นฐานของลัทธิมาร์กซิสต์ แต่ยังปฏิเสธหลักการ
                  พื้นฐานของลัทธิเสรีนิยมและลัทธิประชาธิปไตยด้วย ลัทธิฟาสซิสต์ตำหนิหลักการความเสมอภาค
                  หลักการปกครองโดยเสียงข้างมาก การปฏิบัติและสถาบันทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับหลักการ

                  ข้างต้น ตรงกันข้าม ลัทธิฟาสซิสต์ยกย่องเชิดชูและเห็นประโยชน์ของความไม่เสมอเท่าเทียมกัน
                  ของมนุษย์ อีกทั้งไม่เห็นด้วยที่จะทำให้คนเสมอเท่าเทียมกัน อย่างเช่นการให้สิทธิออกเสียง

                  เลือกตั้งเป็นการทั่วไป ในมุมมองของลัทธิฟาสซิสต์ บุคคลจะมีความสำคัญก็ต่อเมื่อสัมพันธ์
                  เชื่อมโยงกับรัฐ บุคคลหรือกลุ่มเป็นเพียงส่วนเสี้ยวองค์ประกอบย่อยของรัฐ รัฐไม่ได้ดำรงอยู่เพื่อ
                  รับใช้เป้าหมายที่เห็นแก่ตัวของบุคคล หรือแม้แต่คุ้มครองชีวิตของบุคคล รัฐมีไว้เพื่อเป้าหมาย

                  อะไรบางอย่างที่สูงกว่า


                       ในทัศนะของมุสโซลินี รัฐเท่านั้นที่สามารถสร้างความปรองดองในสังคม ส่วนลัทธิพหุนิยม
                  สร้างความแบ่งแยกและนำความอ่อนแอมาสู่สังคม นอกจากนี้ มุสโซลินียังเห็นว่า ทฤษฎี

        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5      7   Dan N. Jacobs and Hans H. Baerwald (eds.), Chinese Communism: Selected Documents


                  (New York: Harper and Row, 1963), pp. 44-45.
                       M. Judd Harmon, Political Thought: From Plato to the Present (New York: McGraw-Hill Book Co.,
                     8

                  1964), pp. 443-445.
   402   403   404   405   406   407   408   409   410   411   412