Page 404 - kpi17073
P. 404
ดุลยภาพทางการเมืองดุลยภาพทางสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต*
บทนำและประเด็นปัญหา
ในรอบ 1-2 ทศวรรษเศษที่ผ่านมานับจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ.
2535 สังคมไทยตกอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพและมีความขัดแย้งอย่างรุนแรง
ระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆ ทำให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในสังคมเป็น
ระยะๆ มีอาทิ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ต้องปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว
1
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พร้อมกับกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(ไอเอ็มเอฟ) เพื่อพยุงฐานะทางการเงินของประเทศ ปิดสถาบันการเงินจำนวน
58 บริษัท ในช่วงก่อนและหลังลอยตัวค่าเงินบาท การรณรงค์และการต่อต้าน
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (ฉบับปฏิรูปการเมือง) พ.ศ. 2540 เสื้อเขียว
(สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540) เสื้อเหลือง (ต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับ
พ.ศ. 2540) และตามมาด้วยการชุมนุมประท้วงของม็อบสีลมขับไล่รัฐบาล
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ. 2540 ให้รับ
ผิดชอบต่อความล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ การกดดันให้
รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ยุบสภาในช่วง พ.ศ. 2542-2543 เพื่อจัดให้มีการ
เลือกตั้งใหม่ตามรัฐธรรมนูญใหม่ที่ประกาศใช้แล้ว การเลือกตั้งทั่วไป 6
มกราคม พ.ศ. 2544 และความไม่แน่นอนในสถานการณ์ทางการเมืองกรณี
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ถูกกล่าวหาว่า “ซุกหุ้น” และเหตุการณ์วุ่นวายทาง
2
การเมือง ระหว่าง พ.ศ. 2548-2557 ที่เกิดปรากฏการณ์กลุ่มพันธมิตร
ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) หรือกลุ่มเสื้อเหลืองชุมนุมประท้วงรัฐบาล
พรรคไทยรักไทย ระหว่าง พ.ศ. 2548-2549 และรัฐบาลในร่างทรงของ พ.ต.ท.
* คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1 ดู คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบ
การเงินของประเทศ (ศปร.) รายงานการวิเคราะห์และวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์
วิกฤตทางเศรษฐกิจ (กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2541)
2 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดีพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน
และหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2544