Page 405 - kpi17073
P. 405
404 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ทักษิณ ใน พ.ศ. 2551 กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่ม
เสื้อแดง ชุมนุมประท้วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใน พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553 และ
กลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ชุมนุมประท้วงอย่างยืดเยื้อใน พ.ศ. 2556-2557
(ดูภาคผนวกท้ายบทความ) จนทหารต้องเข้ามาแทรกแซงด้วยการใช้กำลังเข้าแก้ไขปัญหาการ
ชุมนุมหลายครั้ง รวมถึงการทำรัฐประหารยุติการปกครองระบอบประชาธิปไตยถึง 2 ครั้งในระยะ
เวลาห่างกันไม่ถึง 10 ปี
กรอบการเดินเรื่อง และแนวคิดหรือทฤษฎีในการวิเคราะห์ปัญหา
ในการศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและช่องทางการแก้ไข ผู้วิจัย
มองปัญหาโดยใช้หลักธรรมแห่งพุทธศาสนาเป็นหลักการขั้นตอนในการเดินเรื่อง คือ อริยสัจ 4
อันได้แก่ 1. ปัญหาที่เกิดขึ้น 2. สาเหตุของปัญหา 3. แนวทางการแก้ปัญหา และ 4. วิธีปฏิบัติใน
การแก้ปัญหา กล่าวคือการวิจัยจะเริ่มจากการระบุประเด็นปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น วิเคราะห์
สาเหตุของปัญหาว่ามาจากอะไร แนวทางการแก้ไขเป็นแบบใด และวิธีปฏิบัติในการแก้ไข
ทำอย่างไร ตามลำดับ
สำหรับการวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งและการสร้างดุลยภาพทางการเมือง อาจกล่าวได้ว่า
ทำได้ในหลายรูปแบบ ทั้งในแง่ของแนวคิดแบบประชาธิปไตยทางอ้อมที่ให้ประชาชนเลือกผู้แทน
เข้ามาทำหน้าที่แทนประชาชน โดยไม่จำเป็นต้องผ่านพรรคการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ หรือ
ผ่านกลุ่มผลประโยชน์ตามทฤษฎีพหุนิยม ผ่านชนชั้นตามทฤษฎีมาร์กซิสต์ และผู้นำตามแนวคิด
ฟาสซิสต์
ทฤษฎีพหุนิยม เป็นทฤษฎีในแนวประชาธิปไตย มองการเมืองเป็นการแข่งขันและการร่วมมือ
ของกลุ่มพลังต่างๆ ที่จำกัดวงอยู่ในกรอบของกติกา ทุกฝ่ายทุกกลุ่มต้องเล่นหรือดำเนินกิจกรรม
ทางการเมืองตามกติกา โดยระบบการเมืองจะมีกติกากลางที่ทุกฝ่ายต้องเคารพและต้องปฏิบัติ
ตาม หากละเมิดกติกาก็อาจถูกตักเตือนหรือถูกตัดสิทธิในการแข่งขัน การเมืองในระบบอย่างนี้
ตัวแสดงทางการเมืองประกอบด้วยประชาชนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นชมรม เป็นสมาคม เป็น
สหภาพ เป็นสหกรณ์หลากหลายทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา วัฒนธรรม การศึกษา การกีฬา
หรืออื่นๆ ที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับใคร จำนวนหมื่นจำนวนแสน ไม่มีกลุ่มใดมีอำนาจมากพอที่จะ
ผูกขาดอำนาจหรือบังคับกลุ่มอื่นๆ ด้วยอำนาจให้เห็นตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เว้นแต่จะเป็นเรื่อง
ที่กลุ่มเล็กกลุ่มน้อยส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกัน การใช้วิธีชักจูงโน้มน้าวด้วยเหตุผล การขอความ
3
ร่วมมือ หรือการต่อรองด้วยการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์จึงจะประสบความสำเร็จ ในสังคมชนิดนี้
ทุกกลุ่มมีโอกาสแสดงออก ทุกกลุ่มมีโอกาสดำรงอยู่ร่วมกัน ไม่ถูกกลืนกินหรือทำลายโดยกลุ่ม
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 ใหญ่ง่ายๆ สังคมแบบนี้ แม้จะปกครองด้วยเสียงส่วนใหญ่ แต่เสียงส่วนน้อยก็มีเสรีภาพในการ
Arnold K. Sherman and Aliza Kolker, The Social Bases of Politics (Belmont, Cal.: Wadsworth
3
Publishing Co., 1987), pp. 126-140.