Page 411 - kpi17073
P. 411
410 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
การเมืองไทยช่วง 20 ปีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นการเมืองในระบอบ
ลูกครึ่งระหว่างเผด็จการผสมประชาธิปไตย กล่าวคือผู้นำต้องยอมให้กลุ่มพลังทางสังคมฝ่ายต่างๆ
เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ไม่อาจผูกขาดตัดตอนแบบยุคก่อนหน้านี้ เป็นยุคที่ทหารต้องลดบทบาท
ทางการเมืองลง นักการเมืองและพรรคการเมืองนอกระบบราชการเริ่มก่อตัวและพัฒนาขึ้นมาได้
ระบบราชการเริ่มลดการรวมอำนาจลง มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งเป็นฐานให้
นักการเมืองที่อยู่นอกระบบราชการก่อตัวขึ้นได้ ในยุคนี้ การเมืองจะลงตัวและพอที่จะสร้างสมดุล
ได้คือการเมืองลูกผสมระหว่างข้าราชการกับนักการเมือง ความล้มเหลวในการสร้างดุลยภาพเกิด
ขึ้นเมื่อการเมืองเปลี่ยนไปสู่ขั้วใดขั้วหนึ่งมากเกินไป การเมืองในช่วงนี้อาจกล่าวได้ว่าโน้มเอียง
ไปทางตัวแบบพหุนิยม
ประเด็นปัญหาความขัดแย้งยุคหลัง พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน
การปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 โดยมีรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นกฎหมายแม่บทที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบการเมืองให้เป็น
ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ และการบริหารประเทศที่มีประสิทธิภาพสูง จบลงด้วยความล้มเหลว
สังคมแตกแยก และมีความขัดแย้งอย่างรุนแรง ทหารต้องเข้าแทรกแซง ยุติการเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตยชั่วคราว เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากนั้นสภาร่างรัฐธรรมนูญ
14
พ.ศ. 2550 ได้ปรับรื้อระบบการเมืองกันใหม่ เพื่อลดความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของผู้นำฝ่ายบริหาร
ในการควบคุมรัฐมนตรี เพิ่มบทบาทของสภาในการควบคุมการบริหารประเทศของนายกรัฐมนตรี
ให้ความเป็นอิสระมากขึ้นแก่ ส.ส. ในการย้ายพรรค กล่าวคือ มีการลดเงื่อนไขผู้มีสิทธิสมัครรับ
เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากการต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมือง
หนึ่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง เหลือเพียง 30 วันนับถึงวันเลือกตั้งใน
15
กรณีที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปเนื่องด้วยเหตุเพราะยุบสภา ปรับแก้โอกาสการแทรกแซงการแต่งตั้ง
กรรมการหรือตัวบุคคลที่เป็นองค์อำนาจขององค์กรอิสระ โดยผ่านการจัดทำเป็นรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แต่กระนั้น ประชาธิปไตยก็ดำเนินไปด้วยความยากลำบาก
การชุมนุมประท้วงเกิดขึ้นเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องและยืดเยื้อ ไม่ว่าฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
หรือพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นสู่อำนาจ
ในที่สุด ระบอบประชาธิปไตยช่วงนี้มาจบลงเมื่อรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พยายาม
ผลักดันให้มีการตรากฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อไม่เอาผิดแก่ผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ความวุ่นวาย
ทางการเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ถึงเหตุการณ์ความวุ่นวายล่าสุด ในช่วงปลายปี 2556 การเพลี่ยงพล้ำ
ของรัฐบาลในการตรากฎหมายดังกล่าว แต่ไม่ยอมลาออกจากตำแหน่ง เป็นเหตุให้นายสุเทพ
เทือกสุบรรณ ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานีและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น กับเพื่อน ส.ส.
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 เช่น บนถนนราชดำเนินกลาง บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณสถานีรถไฟสามเสน บนถนน
พรรคประชาธิปัตย์อีกจำนวนหนึ่งและเครือข่ายทางการเมือง จัดชุมนุมประท้วงรัฐบาลในหลายจุด
14
ดู อารัมภบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549
15
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 101(3)