Page 177 - kpi17073
P. 177

176     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  สมาชิกของอภิรัฐมนตรีสภาและในฐานะอื่น เช่น เสนาบดีในกระทรวงต่างๆ ซึ่งสามารถนำ
                  ประยุกต์สร้างนวัตกรรมของสภาอภิรัฐมนตรีให้เป็นสภาการแผ่นดินสูงสุดในระบอบประชาธิปไตย

                  ปัจจุบันให้มีอำนาจอธิปัตย์ที่สี่ คือ “อำนาจรัฎฐาภิบาล” (Sovereign Governance) ซึ่งเป็นศูนย์
                  รวมอำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ 8 องค์กร โดยมีอำนาจเอกเทศที่เข้มแข็งเพียงพอในการ
                  ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภา อำนาจบริหารของรัฐบาล และอำนาจ

                  ตุลาการของศาลโดยปราศจากการแทรกแซงกดดันจากนักการเมืองเพื่อยับยั้งการใช้อำนาจรัฐโดย
                  มิชอบ (Abuse of Power) ของสามอำนาจอธิปัตย์ดั้งเดิมนี้ได้ ทั้งนี้ ที่มา โครงสร้าง และอำนาจ

                  หน้าที่ของสภาอภิรัฐมนตรีจะได้นำเสนอโดยละเอียดในหัวข้อที่ 4 ของบทความนี้ต่อไป


                  2.  หลักการธรรมาธิปไตยในการสร้างดุลภาพการใช้อำนาจรัฐ

                    ในกรอบอำนาจจตุอธิปัตย์



                       นอกจากการประยุกต์อภิรัฐมนตรีสภาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อสร้าง

                  นวัตกรรมสภาอภิรัฐมนตรีให้มีอำนาจรัฎฐาภิบาลข้างต้นแล้ว ยังต้องนำหลักธรรมาธิปไตย
                  (Dhrammacracy) ของท่านพุทธทาสมาควบคุมการใช้อำนาจจตุอธิปัตย์ (อำนาจรัฎฐาภิบาล
                  อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ) ให้เกิดดุลยภาพที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย

                  หลักธรรมาธิปไตยมีรากฐานมาจากหลักธรรมที่เป็นมูลฐานอำนาจอธิปไตยในพระพุทธศาสนา
                  ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงหลักการอธิปไตยไว้ 3 ประการ (พระพรหมคุณาภรณ์, ป.อ.ปยุตโต,

                  2549, น. 71-72; คณะกรรมการสร้างสังคมธรรมาธิปไตย, 2552, น. 54-55) คือ
                  1) อัตตาธิปไตย ถือ ตนเป็นใหญ่ 2) โลกาธิปไตย ถือ โลกเป็นใหญ่ 3) ธรรมาธิปไตย ถือ
                  ธรรมเป็นใหญ่ ดังนั้น ธรรมาธิปไตยจึงถือหลักการ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผล

                  เป็นใหญ่ กระทำด้วยปรารภสิ่งที่ได้ศึกษา ตรวจสอบตามข้อเท็จจริง และความเห็นที่รับฟังอย่าง
                  กว้างขวางแจ้งชัด และพิจารณาอย่างดีที่สุดเต็มขีดแห่งสติปัญญา มองเห็นได้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

                  เป็นไปโดยชอบธรรม และเพื่อความดีงามเป็นประมาณอย่างสามัญในการกระทำด้วยความเคารพ
                  หลักการ กฎหมาย กฎระเบียบ กติกาตามหลักนิติธรรมในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งท่านพุทธ
                  ทาสศึกษาสรุปไว้ว่า “ธรรมะกับการเมืองเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ได้ แยกกันเมื่อไร การเมืองก็กลาย

                  เป็นเรื่องทำลายโลกขึ้นมาทันที” (พุทธทาสภิกขุ, 2549; พุทธทาสภิกขุ, 2550) โดยวิเคราะห์
                  เชื่อมโยงหลักธรรมาธิปไตยกับธัมมิกสังคมนิยมไว้ 3 หลักการ (กวีวงศ์, รวบรวมและเรียบเรียง,

                  2550; พระพรหมคุณาภรณ์, ป.อ.ปยุตโต, 2549) คือ หลักการถือประโยชน์ส่วนรวมและพึ่งพา
                  อาศัยกัน หลักควบคุมตนเองและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน และหลักการมีความเคารพนับถือและเมตตา
                  กรุณาต่อกัน




        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182