Page 176 - kpi17073
P. 176
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 175
ราโชบายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อวางรากฐานการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในกาลต่อมา เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ 24 มิถุนายน
2475 โดยคณะราษฎร จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) มาเป็น
ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy)
นอกจากอภิรัฐมนตรี 5 พระองค์ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีในรัชกาลที่ 5 และที่ 6 คือ
1) สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช 2) สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
3) สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ 4) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ
5) พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ภายหลังที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา
ภาณุพันธุวงศ์วรเดชทิวงคตแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 1 พระองค์เมื่อ
วันที่ 1 เมษายน 2473 คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ต่อมาในวันที่ 21 ตุลาคม
2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 2 พระองค์ คือ กรมพระกำแพงเพ็ชร
อัครโยธิน และกรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย (ชาญชัย รัตนวิบูลย์, 2548, น. 161) อภิรัฐมนตรีทั้ง
8 พระองค์ล้วนเป็นพระราชวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์จักรีที่เคยทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีที่มี
ประสบการณ์สูงมาก เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย และได้รับความเชื่อถือจากประชาชนอย่างแท้จริง
ซึ่งช่วยให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประสบความสำเร็จในการบริหารราชการ
แผ่นดินระยะแรก (ชัยอนันต์ สมุทวณิช, 2519, น. 84) แม้การจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภาช่วยลด
ความกดดันในหมู่ข้าราชการและประชาชนที่เคยมีต่อสภาพการใช้พระราชอำนาจของพระมหา-
กษัตริย์ได้ในระยะแรก แต่นานวันข้าราชการและประชาชนต่างรู้สึกว่าอภิรัฐมนตีสภาเริ่มมีอำนาจ
มากเกินไปเหมือนกับว่าพระมหากษัตริย์ทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคณะอภิรัฐมนตรี แต่
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงถือว่าอภิรัฐมนตรีมีอิทธิพลเหนือพระองค์แต่อย่างใด
เป็นเพียงผู้คอยให้คำปรึกษาราชการแผ่นดินเท่านั้น (ชงคชาญ สุวรรณมณี, 2554, น. 1)
อภิรัฐมนตรีสภาเป็นสภาการแผ่นดินสูงสุดที่มีบทบาทและอำนาจหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
ราชการแผ่นดินทั้งปวงทั้งในด้านนโยบายและการนิติบัญญัติเพื่อประกอบพระราชวินิจฉัยตัดสิน
พระทัยสั่งการของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในการบริหารราชการแผ่นดินทั้งปวง แต่
อภิรัฐมนตรีสภาไม่มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาราชการใดๆ เว้นแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พิเศษเฉพาะตัวบุคคลหรือเป็นการชั่วคราว การถวายคำปรึกษาโดยส่วนใหญ่ได้ทำในรูปของการ
ประชุม ซึ่งต้องมีอภิรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 3 พระองค์จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม
อภิรัฐมนตรีสภาสามารถกราบบังคมทูลถวายความเห็นเป็นการส่วนพระองค์ได้ทุกเมื่อ ทั้งในเรื่อง
ที่พระราชทานมาให้ถวายคำปรึกษา หรืออื่นๆ ที่อภิรัฐมนตรีเห็นสมควร อภิรัฐมนตรียังมีสิทธิ
เข้าร่วมประชุมในเสนาบดีสภาและมีสิทธิลงคะแนนได้ด้วย แต่เสนาบดีไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใน
อภิรัฐมนตรีสภา เว้นแต่จะได้รับเชิญเป็นกรณีพิเศษ เช่น เข้าชี้แจงแสดงความคิดเห็นแต่ไม่มีสิทธิ
ออกเสียง (ชาญชัย รัตนวิบูลย์, 2548, น. 83-168) ดังนั้น ในอดีต อภิรัฐมนตรีสภาจึงมีบทบาท
สำคัญที่โดดเด่น 3 ลักษณะรวมกัน คือ (1) เป็นสภาการแผ่นดินสูงสุดขององค์พระมหากษัตริย์
และมีอำนาจปฏิบัติงานเป็นเอกเทศ (2) ปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรหรือคณะบุคคลอื่นๆ ไม่ว่าจะ
เป็นองค์คณะทั้งสภาหรือรายพระองค์ และ (3) ปฏิบัติงานเป็นการเฉพาะแต่ละพระองค์ในฐานะ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1