Page 178 - kpi17073
P. 178

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   177


                      3.  วิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง

                        ระบอบประชาธิปไตยต้นแบบในต่างประเทศ



                            ในปัจจุบัน รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative
                      Democracy) ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกยึดถือเป็นต้นแบบมี 4 ระบบหลัก คือ ระบบรัฐสภา
                      (Parliamentary System) แบบอังกฤษ และระบบประธานาธิบดี (Presidential System)

                      แบบสหรัฐอเมริกามาก่อน ซึ่งต่อมาฝรั่งเศสและเยอรมนีได้นำไปสร้างนวัตกรรมระบบกึ่ง
                      ประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) แบบฝรั่งเศส และระบบรัฐสภาประยุกต์

                      (Applied Parliamentary System) แบบเยอรมนี โดยมีการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามบริบท
                      ทางการเมืองและสังคมของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันออกไป (เชาวนะ ไตรมาศ, 2546, 393-
                      414) ในปี พ.ศ. 2455 ดร.ซุนยัตเซ็น บิดาแห่งการปฏิวัติจีน ผู้สถาปนาสาธารณรัฐจีนให้เป็น

                      ประชาธิปไตยประเทศแรกในเอเชียเมื่อ 100 กว่าปีได้สร้างนวัตกรรมการปกครองระบอบ
                      ประชาธิปไตยในกรอบรัฐธรรมนูญห้าอำนาจ (The Five Powers Constitution) ซึ่งสาธารณรัฐ

                      จีน (ไต้หวัน) ได้รับมรดกระบอบประชาธิปไตยรูปแบบนี้มาครบรอบ 102 ปีแห่งการสถาปนา
                      ไต้หวันเป็นสาธารณรัฐในปี 2556 (Economist Intelligence Unit, 2556) โดยมีรากฐาน
                      ระบอบประชาธิปไตยที่มีพัฒนาการก้าวหน้าและเอกลักษณ์เฉพาะที่เหมาะสมกับบริบทสังคม

                      การเมืองของไต้หวันเช่นเดียวกับฝรั่งเศสและเยอรมนี

                            3.1 ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) แบบอังกฤษ ใช้กลไกตรวจสอบถ่วงดุล

                      การใช้อำนาจรัฐที่ยึดหลักอำนาจสูงสุดของรัฐสภา (Supremacy of Parliament) และหลักการ
                      ควบรวมอำนาจ (Fusion of Powers)


                            3.2 ระบบประธานาธิบดี (Presidential System) แบบสหรัฐ ใช้กลไกตรวจสอบถ่วงดุล

                      การใช้อำนาจรัฐที่ยึดหลักอำนาจสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (Supremacy of Constitution)กับ
                      หลักการแยกอำนาจ (Separation of Powers) ในระบบประธานาธิบดี


                            3.3 ระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) แบบฝรั่งเศส ใช้กลไกตรวจสอบ
                      ถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐที่ยึดหลักอำนาจสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (Supremacy of Constitution)

                      และหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) ในระบบกึ่งประธานาธิบดี

                            3.4 ระบบรัฐสภาประยุกต์ (Applied Parliamentary System) แบบเยอรมนี ใช้กลไก

                      ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐที่ยึดหลักอำนาจสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (Supremacy of
                      Constitution) และหลักการควบรวมอำนาจ (Fusion of Powers) ในระบบรัฐสภาประยุกต์


                            ดังวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตยต้นแบบ
                      4 ระบบในตารางที่ 1 ได้ดังนี้                                                                       การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183