Page 175 - kpi17073
P. 175
174 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ตั้งแต่เราได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์แห่งสมเด็จพระบุรพมหาราชเจ้า ซึ่งได้ทรงปกครอง
ป้องกันและทำนุบำรุงสยามประเทศอันเปนที่รักของเราทั้งหลายให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบมา
ช้านาน เราก็รู้สึกความรับผิดชอบในส่วนเรา ซึ่งจะต้องพยายามปกครองสยามประเทศกับ
ทั้งประชาชนทั้งหลายให้ร่มเย็นเปนสันติสุข และให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองโดยเต็มความ
สามารถของเราที่จะพึงกระทำได้ทุกอย่างทุกประการต่อไปจนสุดกำลัง อาศัยความปรารภที่กล่าวมา
เราคิดเห็นว่าตามราชประเพณีซึ่งมีอยู่ในบัดนี้ พระเจ้าแผ่นดินมีมนตรีสำหรับเปนที่ ทรงปรึกษา
หารือสองคณะด้วยกัน คือ องคมนตรี ซึ่งทรงตั้งไว้เปนจำนวนมาก สำหรับทรงปรึกษากิจการ
พิเศษ อันเกิดขึ้นฉะเพาะสิ่งฉะเพาะอย่างคณะ 1 กับเสนาบดีสภาผู้บังคับบัญชาราชการกระทรวง
ต่างๆ มีจำนวน หย่อนญี่สิบ สำหรับทรงปรึกษาหารือราชการ อันกำหนดไว้เปนหน้าที่ใน
กระทรวงนั้นๆ คณะ 1 แต่ยังมีราชการอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเปนการสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือ ที่จะคิด
ให้กิจการตลอดจนรัฎฐาภิปาลโนบายของรัฐบาลเปนอุปการอันหนึ่งอันเดียวกันทุกกระทรวง
ทบวงการ แต่ก่อนมาตกอยู่แต่ตาม พระบรมราชวินิจฉัยแม้มีพระราชประสงค์จะทรงปรึกษาหารือ
ผู้อื่นก็ได้อาศัยแต่เสนาบดีสภา เราเห็นว่ายังไม่เหมาะ เพราะเหตุที่เสนาบดีสภาสมาชิกตั้งตาม
ตำแหน่งกระทรวงมีจำนวนมากนั้นอย่าง 1 และล้วนเปนเจ้าหน้าที่ฉะเพาะกิจการกระทรวงใด
กระทรวงหนึ่งนั้นอีกอย่าง 1 เราจึงคิดจะตั้งมนตรีขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่ง เรียกว่า “อภิรัฐมนตรีสภา”
ให้มีจำนวนสมาชิกแต่น้อย สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงปรึกษาราชการทั้งปวงเปนนิจ เพื่อจะได้
เปนกำลังแก่การที่ทรงพระราชวินิจฉัยราชการทั้งปวง ในการตั้งสภาอภิรัฐมนตรีนี้ ผู้ซึ่งสมควรจะ
เปนสมาชิกจำต้องเปนผู้ซึ่งมีความคุ้นเคยและชำนิชำนาญราชการมากมาแต่ก่อน และประกอบ
ด้วยเกียรติคุณทั้งความปรีชาสามารถ สมควรเปนที่ทรงไว้พระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน
ตลอดจนมหาชนทั้งหลาย เราจึงได้เลือกสรร สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
พระองค์ 1 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต พระองค์ 1 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระ-
นริศรานุวัดติวงศ์ พระองค์ 1 กรมพระดำรงราชานุภาพ พระองค์ 1 กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
พระองค์ 1
ด้วยทั้ง 5 พระองค์นี้ได้ทรงรับราชการในตำแหน่งสำคัญมาแต่รัฐกาลที่ 5 เคยเปนที่ทรงไว้
วางพระราชหฤทัย ทั้งได้คุ้นเคยทราบกระแสพระราชดำริห์ และพระบรมราโชบายของสมเด็จ
พระพุทธเจ้าหลวงมาแต่ก่อน ล้วนทรงปรีชาสามารถและมีเกียรติคุณจะหาผู้อื่นเสมอเหมือนได้
โดยยาก เราตั้งให้เจ้านายผู้ใหญ่ทั้ง 5 พระองค์ เปนอภิรัฐมนตรีแต่นี้ไป ด้วยไว้วางใจในความ
ซื่อตรงจงรักภักดี ซึ่งทรงมีต่อบ้านเมืองและตัวเราด้วยกันทุกพระองค์ การที่เราคิดจัดดังกล่าวมา
นี้หวังว่าจะเปนคุณเปนประโยชน์สืบต่อไป...” (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42, วันที่ 28 พฤศจิกายน
2468, น. 2618) อภิรัฐมนตรีสภาจึงถือได้ว่าเป็นสถาบันการเมืองแรกที่พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาทันทีที่ทรงขึ้นครองราชย์เพื่อสืบต่อ “สภาที่ปรึกษาราชการ
แผ่นดิน” (Council of State) พร้อมทั้งทรงได้จัดตั้ง “สภากรรมการองคมนตรี” สืบต่อ “สภา
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 สถาปนาขึ้นในระบบสภาการแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2417 (ทีมงานนักหนังสือพิมพ์อาวุโส, 2550,
ที่ปรึกษาส่วนพระองค์” (Privy Council) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรง
น. 7-18) ซึ่งสภาทั้งสองพอเทียบเคียงได้กับสภาขุนนางอังกฤษ (House of Lords) เพื่อจำกัด
พระราชอำนาจอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เป็นพระบรม-