Page 174 - kpi17073
P. 174
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 173
การปฏิรูปโครงสร้างดุลอำนาจรัฐ
ในระบอบประชาธิปไตยไทยภายใต้กรอบอำนาจจตุอธิปัตย์
บทนำ
อภิรัฐมนตรีสภา (Supreme Council of State) เป็นสภาที่ปรึกษานโยบายและนิติบัญญัติ
ของการแผ่นดินทั้งปวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้น โดยมีพระราชประสงค์
ให้เป็นสภาการแผ่นดินสูงสุดที่ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของรัฐจะประชุมเพื่อตัดสินใจในการงาน
ของรัฐ อภิรัฐมนตรีสภาจึงได้รับการสถาปนาจัดตั้งเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2468 มรดก
การปกครองธรรมราชาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจากอภิรัฐมนตรีสภาในสมัย
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้จุดประกายให้ผู้เขียนได้ทำการวิจัยฟื้นฟูมรดกการปกครองนี้เพื่อสร้าง
นวัตกรรมสภาอภิรัฐมนตรีให้เป็นกลไกปฏิรูปประชาธิปไตยไทยภายใต้กรอบอำนาจจตุอธิปัตย์
(Four Sovereign Powers) ที่นำไปสู่การปฏิรูปโครงสร้างดุลภาพอำนาจรัฐในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีปัญหาระบบการเมืองการปกครองใน
ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) จากการควบรวมอำนาจ (Fusion of Powers) ของ
รัฐสภา (อำนาจนิติบัญญัติ) กับรัฐบาล (อำนาจบริหาร) จนเกิดระบบเผด็จการรัฐสภาเสียงข้างมาก
(Majoritarian Parliamentary Dictatorship) ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลและคานอำนาจกันได้
อย่างแท้จริง จึงมีความจำเป็นต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจรัฐในระบบกึ่งรัฐสภา (Semi-
Parliamentary System) เพื่อการแบ่งแยกอำนาจให้รัฐสภาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และรัฐบาล
(นายกรัฐมนตรี) ทำหน้าที่ฝ่ายบริหารซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
เพื่อให้มีเกิดความเป็นเอกเทศในการถ่วงดุลและคานอำนาจกันได้อย่างแท้จริง โดยสถาปนาสภา
อภิรัฐมนตรีให้เป็นสภาการแผ่นดินสูงสุดซึ่งประกอบด้วยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้งหมดที่มี
อำนาจเป็นองค์อธิปัตย์ฝ่ายที่สี่ในการใช้อำนาจรัฎฐาภิบาล เพื่อมาตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจ
รัฐขององค์อธิปัตย์สามฝ่ายเดิมอีกชั้นหนึ่ง คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ
ตามแนวคิดทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจแบบดั้งเดิมของมองเตสกิเออ
1. ภูมิหลังการจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภายหลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์ได้เพียง 2 วัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 28
พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 โดยมีกระแสพระราชดำรัสสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภา ดังต่อไปนี้
“ขอขอบพระทัยและขอบใจท่านทั้งหลายผู้เปนองคมนตรีที่ได้กระทำสัตยสัญญารับจะปฏิบัติ
หน้าที่ด้วยความซื่อตรงจงรักภักดีต่อตัวเรา การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1