Page 172 - kpi17073
P. 172
การปฏิรูปโครงสร้างดุลอำนาจรัฐ
ในระบอบประชาธิปไตยไทย
ภายใต้กรอบอำนาจจตุอธิปัตย์
ดร.สุรพล ศรีวิทยา*
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการวิจัยเรื่อง “การปฏิรูป
ประชาธิปไตยไทยภายใต้กรอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับธรรมาธิปไตย”** มี
วัตถุประสงค์เพื่อแสวงหานวัตกรรมระบอบประชาธิปไตยไทยภายใต้กรอบอำนาจ
จตุอธิปัตย์ (Four Sovereign Powers) ที่นำไปสู่การปฏิรูปโครงสร้างดุลภาพ
อำนาจรัฐในการปกครองระบอบประชาธิปไตยไทย โดยการศึกษาวิเคราะห์
รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative
Democracy) ซึ่งปัจจุบันแบ่งได้เป็น 4 ระบบหลัก คือ ระบบรัฐสภา
(Parliamentary System) แบบอังกฤษ ระบบประธานาธิบดี (Presidential
System) แบบสหรัฐอเมริกา ระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential
System) แบบฝรั่งเศส และระบบรัฐสภาประยุกต์ (Applied Parliamentary
System) แบบเยอรมนี โดยมีรูปแบบเฉพาะของโครงสร้างรัฐธรรมนูญ
ห้าอำนาจ (Five Powers Constitution) ของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เป็น
แนวทางศึกษาเปรียบเทียบ ประเทศไทยได้ใช้ระบบรัฐสภามาเป็นเวลานานตั้งแต่
มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ
เท่าที่ควร ประเทศไทยจึงควรวิจัยหานวัตกรรมรูปแบบการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยใหม่ในระบบที่ห้าที่มีลักษณะเฉพาะเหมาะสมกับบริบทของ
สังคมไทย เพื่อวางรากฐานการปฏิรูปประชาธิปไตยไทยสู่การพัฒนาเปลี่ยนแปลง
ที่มุ่งสร้างสังคมธรรมาธิปไตย คือ ระบบกึ่งรัฐสภาแบบธรรมาธิปไตย
(Dhrammacracy Semi-Parliamentary System) ในระบอบประชาธิปไตย
* คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
** ทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต