Page 173 - kpi17073
P. 173
172 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ไทยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งองค์ธรรมราชา โดยยึดหลักแบ่งแยกการใช้อำนาจ
อธิปไตยเป็น 4 ฝ่ายที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลกัน (Check and Balance) คือ อำนาจรัฎฐาภิบาล
อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยมีการเลือกตั้งหัวหน้าที่ใช้องค์อำนาจ
อธิปัตย์ทั้ง 4 ฝ่ายมาจากประชาชน คือ ประธานสภาอภิรัฐมนตรี (President of the
Supreme Council of State) เป็นหัวหน้าฝ่ายรัฎฐาภิบาล ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(President of the National Assembly) เป็นหัวหน้าฝ่ายนิติบัญญัติ นายกรัฐมนตรี (Prime
Minister) เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และประธานศาลยุติธรรมสูงสุด (President of the
Supreme Court of Justice) เป็นหัวหน้าฝ่ายตุลาการ ซึ่งพระมหากษัตริย์ในพระราชฐานะ
ประมุขแห่งรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยผ่านทางผู้นำที่ใช้อำนาจจตุอธิปัตย์ 4
ฝ่ายแทนปวงชนชาวไทยซึ่งถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบ
ที่ห้าที่น่าจะเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยเพื่อวางรากฐานของการพัฒนาสังคมธรรมาธิปไตย
ในประเทศไทยได้ โดยเฉพาะการจัดตั้งกลไกสภาอภิรัฐมนตรี ซึ่งถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่สำคัญ
ที่สุดในการใช้อำนาจรัฏฐาภิบาลเป็นองค์อำนาจอธิปัตย์ฝ่ายที่สี่เพื่อตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจ
อธิปไตยของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการดั้งเดิม เพื่อให้มีการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยโดยนิติรัฐตามหลักนิติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลอย่างแท้จริง
คำสำคัญ : การปฏิรูปโครงสร้าง, ดุลอำนาจรัฐ, ระบอบประชาธิปไตยไทย, กรอบอำนาจจตุ
อธิปัตย์
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1