Page 181 - kpi17073
P. 181

180     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  อำนาจดั้งเดิม และอำนาจสอบเข้าสู่ตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐทุกตำแหน่งเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาทุจริต
                  ซื้อขายตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐ โดยควบรวมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) กับคณะ

                  กรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) มาจัดตั้งเป็นคณะกรรมการราชการแผ่นดินแห่งชาติ
                  (National Public Service Commission: NPSC) ในสังกัดสภาอภิรัฐมนตรี


                    1   ร สร้า   นา รั    การป  ร ประบ บประ า  ป       นกร บ  นา
                        ป

                       การปฏิรูประบอบประชาธิปไตยไทยครั้งนี้ ถือเป็นการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจรัฐในระบบกึ่ง

                  รัฐสภาแบบธรรมาธิปไตย (Dhrammacracy Semi-Parliamentary System) ซึ่งผู้นำที่ใช้อำนาจ
                  อธิปไตย 4 ฝ่ายมาจากการเลือกตั้งของปวงชนชาวไทย ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจประมุข

                  แห่งรัฐแต่งตั้งผู้นำองค์อำนาจอธิปัตย์ทั้ง 4 ฝ่ายให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาอภิรัฐมนตรีใช้อำนา
                  จรัฏฐาภิบาล ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติใช้อำนาจนิติบัญญัติ นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจ
                  บริหาร และประธานศาลยุติธรรมสูงสุดใช้อำนาจตุลาการ เพื่อปฏิรูปประชาธิปไตยไทยสู่สังคม

                  ธรรมาธิปไตยตามกรอบอำนาจจตุอธิปัตย์ที่มีโครงสร้างอำนาจรัฐ ดังนี้


                        1) อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) เป็นของปวงชนชาวไทยนั้น มีบ่อเกิดมาจาก
                           รัฏฐาธิปัตย์ (Sovereign) ประกอบด้วย 3 องค์อธิปัตย์ที่เป็นรากฐานของสถาบันแห่ง

                           ชาติ 3 สถาบัน คือ ประชาชาติหรือชาติ(Nation) เป็นบ่อเกิดของประชาธิปไตย
                           (Democracy) ที่ยึดถือหลักประชาภิบาล (People Governance) ศาสนา (Religion)
                           ทุกศาสนาเป็นบ่อเกิดของธรรมาธิปไตย (Dhrammacracy) ซึ่งถือเป็นที่มาของหลัก

                           ธรรมาภิบาล (Moral Governance) และพระมหากษัตริย์ (Monarchy) เป็นบ่อเกิด
                           ของราชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงยึดถือหลักราชาภิบาล (Royal Governance)

                           โดยทรงปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม ซึ่งปวงชนชาวไทยเย็นศิระเพราะพระบริบาลที่
                           ทรงปกเกล้ามิได้ปกครอง (The King reigns, not governs) ในการใช้อำนาจนั้นตาม
                           ปฐมพระบรมราชโองการ “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่ง

                           มหาชนชาวสยาม” ซึ่งถือเป็นการปกครองตามหลักธรรมาธิปไตย

                        2) พระมหากษัตริย์ (The King) ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ (Head of State) ซึ่งทรงดำรง

                           อยู่ในพระราชฐานะแห่งองค์อธิปัตย์อันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ปวงชน
                           ชาวไทยรวมกันเป็นประชารัฐที่เป็นองค์อธิปัตย์โดยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย

                           ดังนั้น อำนาจอธิปไตยซึ่งแต่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ จึงเป็นของปวงชนชาวไทย
                           ร่วมกับพระมหากษัตริย์ตาม “หลักราชประชาสมาศัย” (ราชา+ประชา+สม+อาศัย) คือ
                           “พระราชากับประชาชนย่อมพึ่งพาอาศัยกัน” (แนวคิดของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช,

                           อ้างถึงในปราโมทย์ นาครทรรพ, 2553; ลิขิต ธีรเวคิน, 2551; คำนูณ สิทธิสมาน,
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   2548) พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางสภาอภิรัฐมนตรี รัฐสภา


                           รัฐบาล และศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีผู้แทนของปวงชนชาวไทยที่มา
                           จากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มี
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186