Page 184 - kpi17073
P. 184

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   183


                                  จากแผนภูมิที่ 1 ข้างต้น สถาบันการเมืองถือกำเนิดจากสถาบันแห่งชาติ (National
                                Institution) คือ ชาติ (Nation) ศาสนา (Religion) และพระมหากษัตริย์

                                (Monarchy) ซึ่งเป็นที่มาของอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) โดยประเทศไทยเป็น
                                ประชารัฐที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                                อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย (ประชาธิปไตย-Democracy) ร่วมกับพระมหา-

                                กษัตริย์ (ราชาธิปไตย-Royal Governance) ตามหลักราชประชาสมาสัย ประธานสภา
                                อภิรัฐมนตรีและประธานศาลยุติธรรมสูงสุดมาการเลือกตั้งโดยอ้อมจากประชาชน สภา

                                นิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้ง
                                นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลมาจากการเลือกตั้งโดยตรง การปกครองตนเอง
                                ระดับท้องถิ่นในระบบเทศบาลตามหลักประชาภิบาล (People Governance) พระมหา-

                                กษัตริย์ทรงเป็นธรรมราชาที่ปกเกล้าปวงชนชาวไทยในระบอบประชาธิปไตยตามหลัก
                                ราชาภิบาล (Royal Governance หรือ The King reigns, not rules) และหลัก

                                ทศพิธราชธรรม โดยทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกทุกศาสนา
                                ซึ่งพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นถือเป็นบ่อเกิดของธรรมาธิปไตย (Dhrammacracy)
                                และหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยมีการปกครอง

                                ระบอบประชาธิปไตยโดยนิติรัฐ ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของสภาอภิรัฐมนตรี สภา
                                นิติบัญญัติแห่งชาติ (วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร) รัฐบาล (นายกรัฐมนตรีและ

                                คณะรัฐมนตรี) และศาลทุกศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ
                                ต้องยึดถือและเป็นไปตามหลักนิติธรรม (Rule of Law)


                                3.3.1) สภาอภิรัฐมนตรี (Supreme Council of State) เป็นสภาการแผ่นดินสูงสุด
                                       แห่งรัฐ โดยถือเป็นสถาบันการเมืองสูงสุดที่ใช้อำนาจรัฎฐาภิบาล (Sovereign

                                       Governance) ในการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร
                                       และอำนาจตุลาการ เพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยอันมี
                                       พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้การปกครองโดยนิติรัฐตามหลัก

                                       นิติธรรม ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกอภิรัฐมนตรีจำนวนทั้งสิ้น
                                       45 คนที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม ซึ่งเป็นผู้แทนโดยตำแหน่งจากหัวหน้า

                                       องค์กรนิติบัญญัติ องค์กรบริหาร องค์กรตุลาการ และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
                                       ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและ/หรือโดยอ้อมจากประชาชนรวมทั้งสิ้น
                                       23 คน และผู้แทนโดยตำแหน่งจากการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคและ

                                       ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น 22 คน ประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการแผ่นดินภูมิภาค
                                       (Regional Administration Inspectors) จำนวน 7 คน และผู้ว่าราชการ

                                       มณฑลเทศาภิบาล (Governors of Provincial Municipality) อีกจำนวน
                                       15 คนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง


                                         ประธานสภาอภิรัฐมนตรี (President of the Supreme Council of State)
                                       เป็นหัวหน้าอำนาจรัฎฐาภิบาล (Head of Sovereign Governance) ซึ่งได้รับ              การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1

                                       เลือกตั้งจากสมาชิกอภิรัฐมนตรีจำนวนเท่าที่มีอยู่ด้วยคะแนนเสียงข้างมาก
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189