Page 262 - kpi16607
P. 262
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วมจัดเป็นนวัตกรรมของ
กระบวนการงบประมาณ ที่นำหลักการมีส่วนร่วมไปใช้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสียของท้องถิ่นนั้นๆได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณ
เพราะพวกเขาล้วนอยู่ในพื้นที่ ย่อมเข้าใจบริบทและความต้องการของคนในพื้นที่
เป็นการทำให้การใช้งบประมาณเกิดความเหมาะสมและคุ้มค่า เพราะพวกเขาย่อม
มาคอยทำการติดตามกระบวนการงบประมาณว่าเกิดผลเพียงใด เป็นการเสริม
สร้างความสามารถของประชาชนในการช่วยกันตรวจสอบการใช้งบประมาณ
เพราะประชาชนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมตัดสินใจการใช้งบประมาณ พวกเขาจัด
ลำดับความสำคัญของงบประมาณเอง จัดเป็นการเสริมสร้างประชาธิปไตย
ในระดับพื้นฐาน เป็นการสร้างพลังของพลเมืองให้มีความเข้มแข็ง พร้อมที่จะมี
ส่วนร่วมในการดูแลประเทศร่วมกันในอนาคต นอกจากนี้ กระบวนการจัดทำ
งบประมาณแบบมีส่วนร่วมย่อมทำให้เกิดการฟังกัน เกิดความเข้าใจและเกิดการ
ใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณา พร้อมเกิดการเสวนาหาทางออกร่วมกัน เพราะ
2 4 งบประมาณมีจำนวนจำกัดแต่ความต้องการมีมากมาย การตัดสินใจจะเกิดการ
ยอมรับมากขึ้น
จากกรณีการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วมของเมืองเปอร์โต อาเลเกร
ส่งผลให้งบประมาณการลงทุนของเมืองถูกกระจายไปสู่พื้นที่ยากจนมากขึ้น
และยังส่งผลต่อการเกิดความพึงพอใจในหมู่ประชาชนเพราะประชาชนเข้าใจ
ว่าการทุจริตคอร์รัปชั่นในการใช้งบประมาณลงลดอีกด้วย
การส่งเสริมความเสมอภาค
กรณีการส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมือง (เช่น Gender
and Local Governance ของการพัฒนาประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ สวีเดน
และอีกหลายประเทศทั่วโลก) โดยให้ความสำคัญกับการนำมุมมองของความเสมอ
ภาคทางเพศเข้ามาใช้ในการพัฒนา
โดยพิจารณาถึง
7
7 United Nations Secretariat, 1999 ; Inter Parliamentary Union. 2015 and Kabeer,
2010.
สถาบันพระปกเกล้า