Page 261 - kpi16607
P. 261
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
เป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศโดย
ยึดหลักธรรมาภิบาล ให้เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินการ เป็นการมุ่งสู่
ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศ โดยต้องเป็นการพัฒนาจาก
ภายในและภายนอก ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มศักยภาพของคนในประเทศ สร้างการมี
ส่วนร่วมของคนทุกภาคส่วนอันจะนำไปสู่การพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้วยการยึด
มั่นในการทำงานที่มีธรรมาภิบาล ทั้งนี้ผลคือความเป็นเลิศที่เกิดจากการมีกลไก
และเป้าหมายที่ชัดเจน
การจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting)
การจัดทำงบประมาณเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อเป็นการ
วางแผนการใช้ทรัพยากร และเมื่อนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้จะทำให้เกิดความ
คุ้มค่าในการจัดสรรทรัพยากรมากขึ้น โดยเริ่มจากการเปิดโอกาสให้ประชาชน
มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงโดยเริ่มจากการริเริ่มโดยประชาชน
ตัวอย่างของการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วมนั้น มีมากมายและที่มี
2 3
ชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานกันมากคือ กรณีเมืองเปอร์โต อาเลเกร ประเทศบราซิล
6
ซึ่งมีประสบการณ์ในการนำเอาธรรมาภิบาลมาใช้จนเกิดผลคือ
๏
ระดับที่ 1 การมีส่วนร่วมในระดับการประชุมของพื้นที่ (Regional
Assemblies) เป็นการมีส่วนร่วมทางตรงที่จัดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของเมือง
เป็นเวทีย่อยๆ
๏
ระดับที่ 2 ระดับตัวแทนของท้องถิ่น (Regional Forums) เป็นการมี
ส่วนร่วมโดยตัวแทนที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมท้องถิ่นให้เข้าไปทำงาน
ร่วมกันตลอดปี และดำรงตำแหน่งไม่เกินสองครั้งติดต่อกัน
๏
ระดับที่ 3 ระดับสภาการมีส่วนร่วมของเมือง (Council of
Participation) เป็นระดับที่ตัวแทนที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมท้องถิ่น
(จากระดับที่ 2) เข้าไปทำหน้าที่คู่ขนานกับสภาผู้แทนท้องถิ่นหรือ
เมืองในการตัดสินใจด้านงบประมาณ ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมและ
ประชาชนสามารถเข้าไปสังเกตการณ์ได้
6 Souza, 2001
สถาบันพระปกเกล้า