Page 254 - kpi16607
P. 254

ดุลอำนาจ   ในการเมืองการปกครองไทย





               เป็นต้น รวมทั้งประชาธิปไตยที่เป็นกระบวนการจัดสรรอำนาจที่เป็นธรรม ทั้งนี้

               ในสาระสำคัญของประชาธิปไตยที่เสริมกระบวนการประชาธิปไตยนั้นเป็นเรื่องของ
               สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพของบุคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หน้าที่พลเมือง
               การมีความชอบธรรมและมีสัญญาประชาคมหรือข้อตกลงร่วม ตลอดจนการยึด

               หลักเสียงข้างมากและเคารพเสียงข้างน้อย

                     ดังนั้น ในกระบวนการประชาธิปไตย จะมีการคำนึงถึงสาระของการเป็น

               ประชาธิปไตยด้วย ซึ่งสาระสำคัญของประชาธิปไตย  (Quality of Democracy)
                                                            2
               ที่รวมหลักการสำคัญของธรรมาภิบาลไว้ทั้งสิ้น นั่นคือ การมีหลักคุณธรรม

               โปร่งใส สำนึกรับผิดชอบ คุ้มค่าและมีส่วนร่วม โดยที่สาระของประชาธิปไตย
               ที่กล่าวแล้วเป็นองค์ประกอบสำคัญของหลักธรรมาภิบาลด้วย จึงเป็นเรื่องที่สัมพันธ์
               เกี่ยวข้องจนแยกไม่ออก อาทิ การยึดหลักนิติธรรมจะต้องให้ความสำคัญกับการ
               คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วย เป็นต้น


          24   มีความสมบูรณ์และเกิดความยั่งยืนเพราะสิ่งที่เป็นผลจากการเป็นประชาธิปไตย
                     หลักการของธรรมาภิบาลจึงเป็นเครื่องกระตุ้นให้กระบวนการประชาธิปไตย


               คือ การจัดสรรอำนาจที่เป็นธรรม ทำให้ทุกคนปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
               และประสิทธิผล เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ไม่มีการทุจริต มีความซื่อสัตย์

               สุจริต เกิดกระบวนการประชาสังคมที่ทำให้ประชาชนรวมตัวกันทำกิจกรรม
                                                                3
               เพื่อประโยชน์สาธารณะ ผลที่เกิดขึ้นคือคุณภาพสังคม  (social quality) ที่มี
               ความมั่นคงในเรื่องเศรษฐกิจและสังคม (Socio – economic security) อันหมายถึง
               การมีทรัพยากร เช่น รายได้ที่พอเพียงต่อการดำรงชีพ มีสุขภาพดี มีความเป็นอยู่

               ที่เหมาะสม เกิดการรวมตัวกันทางสังคม (Social inclusion) ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่
               ว่าด้วยความแตกต่างทางเพศ เพศสภาพ ร่างกาย ชาติพันธุ์ การนับถือศาสนา
               และสามารถที่จะเข้าถึงทรัพยากรได้ ความสมานฉันท์ ทางสังคม (Social

               Cohesion) เป็นการที่คนในสังคมมีความสามัคคี มีความไว้วางใจกัน รวมตัวกัน
               เป็นเครือข่าย เป็นระดับของความสัมพันธ์ เป็นการมีค่านิยม ร่วมกันและการสร้าง
               พลังทางสังคม (Social Empowerment) เพื่อให้คนเราเกิดความสามารถในการที่


               
   2   Beetham David, et al. 2008 และ Diamond and Morlino. 2004.
               
   3   Beck, et. al, 2001.




         สถาบันพระปกเกล้า
   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259