Page 237 - kpi16531
P. 237
220 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) เป็นบริการเกี่ยวกับการกำกับดูแลและควบคุมให้เป็นไปตาม
มาตรฐาน (Regulator & Inspector) โดยรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำหน้าที่เป็น
“กรรมการกลาง” ในการพิจารณากำกับดูแลและควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานตามที่กฎหมาย
กำหนดเท่านั้น หรืองานที่เกี่ยวกับการอนุมัติ/การอนุญาตให้บุคคลสามารถ/ไม่สามารถได้รับหรือ
ดำเนินการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่น การอนุญาตสร้างอาคาร การออกโฉนดที่ดิน การขึ้นทะเบียน
ผลิตอาหาร เป็นต้น (ผู้วิจัยดัดแปลงและเพิ่มเติมจาก บรมานันท์ 2552, 144)
3.2.3.2 เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของบริการสาธารณะของกิจการพาณิชย์
และกิจการเพื่อสังคม
อย่างไรก็ตามการแบ่งประเภทบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถดำเนินการได้หรือไม่ยังไม่เพียงพอ เราต้องพิจารณาด้วยว่าประเภทบริการสาธารณะที่เลือก
มาต้องดำเนินการความมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในลักษณะใด โดยเอกสารปกขาว Competing
for Quality (1991) ของรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรได้กำหนดแนวทางในการจัดบริการสาธารณะ
มุ่งเน้นการเพิ่มบทบาทเพื่อสร้างความเป็นพหุนิยม (Pluralist) หรือความหลากหลายในการจัดหา
บริการสาธารณะเพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันและสร้างการใช้ต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ นวัตกรรม และ
เกิดทางเลือก
โดยเป้าหมายและวัตถุประสงค์นี้สามารถประยุกต์ใช้เป็นหลักพิจารณาว่า
บริการสาธารณะประเภทใดสอดคล้องเป้าหมายและวัตถุประสงค์แบบใด ซึ่งการกำหนดเป้าหมายและ
วัตถุประสงค์นี้ก็จะช่วยในการกำหนดรูปแบบของกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมอีกด้วย ดังนี้
1) แบบตลาดเอกชน (Private market) ที่เน้นการจัดหาบริการสาธารณะตาม
ความต้องการของตลาด สามารถแสวงหารายได้และค่าตอบแทนตามกลไกตลาด สร้างการแข่งขัน
ในการจัดบริการสาธารณะกับเอกชนได้อย่างอิสระ หรือให้เอกชนเข้ามาดำเนินงานแทนได้ ซึ่งบริการ
สาธารณะนี้ควรเน้นการสร้างรายได้และพัฒนาเศรษฐกิจ
2) แบบเอกบุคคล (Individual) ที่เน้นการจัดบริการสาธารณะที่สอดคล้อง
กับความต้องการเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะกลุ่มที่มีความแตกต่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้อง
ตอบสนองต่อคนด้อยโอกาส
3) แบบพัฒนาชุมชน (Community development) ที่เน้นการจัดบริการ
สาธารณะเพื่อการพัฒนาชุมชนหรือพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารระโดยรวม โดยที่ประชาชนและชุมชน
ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและจัดบริการสาธารณะ
3.2.3.3 มิติการพิจารณาประเภท เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของบริการ
สาธารณะที่ควรจัดทำในรูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม
เนื่องจากเราต้องคำนึงถึงเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ และประเภทของบริการ
สาธารณะที่จะดำเนินการก่อนจะเลือกรูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมที่ใช้ดำเนินการ
ผู้วิจัยเห็นว่ามีมิติการพิจารณารูปแบบ ประเภท เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของกิจการพาณิชย์และ
กิจการเพื่อสังคมดังนี้