Page 232 - kpi16531
P. 232

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     21
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                 เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินกิจการเพื่อสังคมให้กับหน่วยการปกครองท้องถิ่นและบุคคล
                 ที่เกี่ยวข้องที่มีความสนใจในการดำเนินการบริการสาธารณะในรูปของกิจการเพื่อสังคม โดยเห็นว่า

                 กิจการเพื่อสังคมสำหรับการบริหารงานของท้องถิ่นจะช่วยในการสร้างประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าได้
                 ใน 4 ลักษณะคือ (สรุปจาก Social Enterprise UK 2012, 11-17)

                                 1) การปรับปรุงบริการสาธารณะ (Improving public services) โดยอาศัย

                 กิจการเพื่อสังคมในการช่วยลดต้นทุนการดำเนินการบริการสาธารณะของรัฐบาลท้องถิ่น โดยที่กิจการ
                 เพื่อสังคมควรมีวิธีการที่หลากหลายในการจัดหาบริการสาธารณะที่มีคุณภาพสูงอย่างมีประสิทธิภาพ
                 และประสิทธิผล รวมถึงช่วยปรับปรุงชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนได้ ซึ่งกิจการเพื่อสังคมจะมี
                 โครงสร้างและกลไกที่เป็นอิสระจากการบริหารงานภาครัฐทำให้มีความคล่องตัวและสามารถกระจาย

                 อำนาจการตัดสินใจได้โดยไม่ต้องติดขัดจากข้อกฎหมายและแนวปฏิบัติของหน่วยงานรัฐ ทำให้กิจการ
                 เพื่อสังคมสามารถจัดบริการที่ยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการ ช่วยลดต้นทุน และนำทรัพยากร

                 ไปใช้ในการดำเนินงานได้อย่างสะดวกและตรงจุด

                                 2) การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic development) โดยกิจการเพื่อสังคม
                 1). ต้องสามารถแข่งขันกับธุรกิจประเภทอื่นเพื่อหารายได้ มีสภาพทางการเงินที่แข็งแกร่งและมีความ

                 โปร่งใส และมีต้องนำผลกำไรไปใช้เพื่อความยั่งยืน โดยกิจการเพื่อสังคมต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ
                 หรือเงื่อนไขทางธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มากยิ่งกว่าบริษัทเอกชนทั่วไป 2). กิจการเพื่อสังคมยังต้องมี
                 ศักยภาพ (Performance) ทั้งด้านการเงินและผลกำไรที่ดี ให้ความสำคัญต่อศักยภาพทางสังคม และ
                 ต้องหาวิธีการดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนและสิ่งแวดล้อม 3). การแบ่งปัน

                 ผลกำไรของกิจการพาณิชย์ให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่ใช่เป้าหมายหลักของกิจการเพื่อสังคม แต่ควรนำผลกำไร
                 ส่วนใหญ่ที่ได้นำกลับไปลงทุนใหม่หรือทรัพยากรต่าง ๆ ที่ได้รับมาคืนสู่ชุมชน และ 4). การพัฒนา

                 เศรษฐกิจจากการลงทุนในชุมชนควรสร้างผลทวีคูณ (multiplier effects) ต่อชุมชนด้วย

                                 3) การพัฒนาชุมชน (Community development) กิจการเพื่อสังคมต้องมี
                 ความเป็นเลิศด้านองค์ความรู้และมีความอ่อนไหวต่อชุมชนของพวกเขา รวมถึงมีความสัมพันธ์ที่

                 ใกล้ชิดและมีความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรที่เป็นจุดแข็งในการพัฒนาชุมชน ซึ่งกิจการเพื่อสังคมของ
                 ชุมชนควรรักษาความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินสาธารณะของชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถใช้ทรัพย์สิน
                 เหล่านั้นเพื่อปรับปรุงสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว


                                 4) การให้ความสำคัญกับประเด็นการกีดกันทางสังคม (Addressing
                 social exclusion) กิจการเพื่อสังคมต้องมีความสามารถในการพัฒนาบริการให้สอดคล้องกับความ
                 ต้องการของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมทุกกลุ่มอย่างครอบคลุม (Inclusiveness) เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็ก
                 เป็นต้น หรือควรได้รับผลตอบแทนที่มาจากความไว้วางใจระหว่างผู้จัดหาบริการและผู้ใช้บริการ โดย

                 กิจการเพื่อสังคมจำนวนมากได้รับคำชมเชยและความไว้วางใจจากประชาชนที่จากการดำเนินงานของ
                 กิจการเพื่อสังคมที่พยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรของกิจการเพื่อสังคมและผู้ใช้

                 บริการ

                                 โดยการดำเนินกิจการเพื่อสังคมของการบริหารงานท้องถิ่นควรมีกรอบ
                 การดำเนินงานด้านบุคลากร ผู้ใช้บริการ ทรัพยากร และนวัตกรรมเป็นไปตามแผนภาพที่ 11
   227   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237