Page 234 - kpi16531
P. 234
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 21
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สนับสนุน หรือควบคุมทิศทางการดำเนินกิจการด้วยตนเอง หรือ 2). กิจการเพื่อสังคมของเอกชน
ที่รัฐบาลท้องถิ่นให้การสนับสนุน โดยท้องถิ่นอาจเชิญชวน ให้การสนับสนุน หรือว่าจ้างให้กิจการ
เพื่อสังคมของเอกชนมาจัดบริการสาธารณะที่สอดคล้องกับทิศทางการบริหารงานของรัฐบาลท้องถิ่น
ซึ่งรูปแบบการดำเนินกิจการเพื่อสังคมควรมีฐานะเป็นนิติบุคคลใน 4 รูปแบบได้แก่
1) รูปแบบกิจการที่แรงงานเป็นเจ้าของ (Employee ownership) ที่สมาชิก
ขององค์กรเป็นผู้ดำเนินงานและเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการเพื่อสังคม
2) รูปแบบสหกรณ์ (Co-operatives) ตามกฎหมายจัดตั้งสหกรณ์ที่ผู้ถือหุ้น
สหกรณ์จะดำเนินงานโดยเน้นเสียงข้างมากตามหลักประชาธิปไตย
3) รูปแบบบริษัทเพื่อสังคม (Social firms) คือการจัดตั้งบริษัทจำกัดตาม
กฎหมายจัดตั้งบริษัทแต่กำหนดให้เป้าหมาย กิจกรรม และผลกำไรจากการดำเนินงานต้องเป็นไปเพื่อ
สังคมโดยตรง
4) รูปแบบมูลนิธิการกุศลที่ทำการค้า (Trading Charity) คือการจัดตั้ง
มูลนิธิตามกฎหมายจัดตั้งมูลนิธิ โดยมูลนิธิสามารถดำเนินกิจกรรมเพื่อการค้าหรือหาผลกำไรสำหรับ
ใช้ดำเนินงานเพื่อสังคม
กล่องข้อความที่ 2: ข้อค้นพบ (Key Finding) ของการดำเนินกิจการเพื่อสังคมโดย
มูลนิธิของท้องถิ่น: กรณีของสหราชอาณาจักร
สหราชอาณาจักรมักดำเนินกิจการ
เพื่อสังคมของท้องถิ่นในมูลนิธิที่ไม่แสวงหา
ผลกำไรซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินกิจการที่มี
มานานและเป็นแนวร่วมสำคัญของหน่วยงานรัฐเพื่อจัดบริการสาธารณะของ
สหราชอาณาจักร จากการศึกษาของ Deloitte ชื่อ Determined, realistic and focused
Local public services in the words of its leaders พบว่าผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ
ต้องการให้ท้องถิ่นของสหราชอาณาจักรมีการจัดบริการสาธารณะร่วมกับมูลนิธิที่ไม่
แสวงหากำไรมากขึ้นเนื่องจาก
1) ช่วยยกระดับความชำนาญเฉพาะทางและการเข้าถึงทักษะการทำงานบางอย่าง
ของมูลนิธิที่รัฐบาลท้องถิ่นไม่สามารถทำได้
2) คาดหวังว่ามูลนิธิเหล่านี้จะช่วยสร้างการบริการสาธารณะที่มีประชาชน
เป็นศูนย์กลาง (Citizen-centric services) และช่วยสร้างนวัตกรรม (Innovation)
3) แต่การดำเนินงานระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับมูลนิธิต้องตระหนักถึงความเสี่ยง
เช่น การมีรายรับหรือทุนสนับสนุนที่ไม่แน่นอนของมูลนิธิ ความใกล้ชิดกับชุมชน และ
มาตรฐานกับองค์ความรู้ของการดำเนินงาน
ที่มา: ประมวลจาก Deloitte 2013, 14-15