Page 235 - kpi16531
P. 235
21 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.2.3 ประเภท เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของบริการสาธารณะที่ควรจัดทำ
ในรูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม
จากที่ได้ศึกษาถึงความหมายและรูปแบบการดำเนินกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม
ก็ยังไม่เพียงพอถ้าไม่คำนึงถึงหลักการพิจารณาประเภท เป้าหมาย และวัตถุประสงค์บริการสาธารณะ
ของท้องถิ่น เนื่องจากการจัดบริการสาธารณะต้องคำนึงถึงเหตุผลของการจัดตั้ง (เป้าหมายและ
วัตถุประสงค์) และประเภทของบริการสาธารณะที่จะดำเนินการ ก่อนที่จะเลือกวิธีการจัดตั้งและ
รูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม
3.2.3.1 ประเภทของบริการสาธารณะที่ควรจัดทำในรูปแบบกิจการพาณิชย์
และกิจการเพื่อสังคม
ประเภทของบริการสาธารณะในที่นี้ผู้วิจัยยึดหลักจากการพิจารณาถึงผู้จัดทำ
บริการสาธารณะว่าควรกำหนดให้อำนาจใครเป็นผู้จัดทำระหว่างรัฐส่วนกลางหรือองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น (บรมานันท์ 2552) ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรยึดหลักความ
สามารถทั่วไปของท้องถิ่น (Local Capability หรือ General Competence) ที่เห็นว่าการดำเนิน
กิจกรรมสาธารณะทุกประเภทเป็นหน้าที่ของหน่วยการปกครองท้องถิ่นเสมอ แล้วค่อยให้
หน่วยการปกครองของส่วนภูมิภาค หรือหน่วยการปกครองของส่วนกลางจะเลือกดำเนินกิจกรรม
สาธารณะในกรณีที่ท้องถิ่นไม่มีศักยภาพที่จะดำเนินการได้ หรือหากดำเนินการได้ก็อาจเกิดปัญหา
กระทบกับท้องถิ่นอื่น หรือเป็นผลเสียหายต่อประเทศชาติโดยรวม หรือทีกฎหมายกำหนดห้ามไม่ให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ (ตันไชย, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ม.ป.ป.) ซึ่งหลัก
ความสามารถทั่วไปของท้องถิ่น ก็มีใช้ในหลายประเทศเช่น สหราชอาณาจักรที่ใช้หลักอำนาจทั่วไป
ของความสามารถ (The General Power of Competence) ในการบริหารงานท้องถิ่นตามกฎหมาย
Localism Act 2011 มาตราที่ 1 ถึง 6 ที่กำหนดให้การปกครองท้องถิ่นของอังกฤษมีอำนาจทั่วไป
ในการดำเนินงานอะไรก็ตามที่บุคคลสามารถทำได้ โดยให้อำนาจในการดำเนินการทุกพื้นที่หรือ
2
บางพื้นที่ในสหราชอาณาจักร ให้อำนาจในการดำเนินงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพาณิชย์หรือ
ดำเนินการอื่นใดทั้งที่มีการเรียกเก็บค่าบริการหรือไม่ได้เรียกเก็บค่าบริการ และให้อำนาจในการ
ดำเนินการสิ่งใดเพื่อประโยชน์หรือมากกว่าประโยชน์ของการปกครองท้องถิ่น พื้นที่ บุคคลที่พำนัก
3
อาศัยหรือดำเนินชีวิตในท้องถิ่น (Local Government Association 2013, 8) เว้นแต่ในกรณีที่มี
กฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ ที่ห้ามไม่ให้ท้องถิ่นดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ
2 ตามมาตรา 1 (1) A local authority has power to do anything that individuals generally may do.
3 ตามมาตรา 4 Where subsection (1) confers power on the authority to do something, it confers power
(subject to sections 2 to 4) to do it in any way whatever, including—
(a) power to do it anywhere in the United Kingdom or elsewhere,
(b) power to do it for a commercial purpose or otherwise for a charge, or without charge, and
(c) power to do it for, or otherwise than for, the benefit of the authority, its area or persons resident or
present in its area.