Page 332 - kpi12821
P. 332
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
4. ข้อควรพิจารณา: หน้าที่จัดส่งรายงานกิจการ
และรายงานการเงินของการรวมกลุ่มในลักษณะ
อื่นๆ ตามกฎหมายไทย
เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายไทยฉบับอื่นที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือกำกับดูแล
การรวมกลุ่มอื่นๆ ที่เป็นนิติบุคคล เช่น มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ สมาคมการค้า หอการค้า
ฯลฯ แล้ว พบว่า มักจะมีการกำหนดให้นิติบุคคลต่างๆ ดังกล่าวต้องจัดทำงบดุลและ
รายงานการดำเนินกิจการเป็นประจำทุกปี โดยต้องได้รับการรับรองจากที่ประชุมใหญ่
ของสมาชิกนิติบุคคลนั้น ๆ ก่อน จากนั้น จะต้องรายงานพร้อมส่งสำเนาเอกสารต่อ
นายทะเบียนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายในกำหนดเวลา เช่น ภายในเดือนมีนาคมของ
ทุกปี หรือภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการประชุม 57
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีการกำหนดหน้าที่ต้องรายงานกิจการให้เจ้าพนักงานตาม
กฎหมายในเรื่องนั้นๆ ทราบเป็นประจำทุกปี ฯลฯ แต่การฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
เพียงครั้งหรือสองครั้ง กลับมิได้ถือเป็นเหตุให้รัฐมีอำนาจที่จะสั่งเลิกหรือยุบการรวมกลุ่ม
ที่เป็นนิติบุคคลดังกล่าวได้ ตัวอย่างเช่น นายทะเบียนจะสั่งเลิกสหกรณ์ได้ก็ต่อเมื่อไม่นำ
00
ส่งรายงานกิจการประจำปี 3 ปีติดต่อกัน ส่วนกรณีนิติบุคคลอื่น การไม่นำส่งรายงาน
กิจการประจำปีย่อมมีผลเพียงแค่โทษปรับ หลังจากเมื่อพ้นกำหนดส่งแล้วไม่ส่ง และ
นายทะเบียนมีคำสั่งให้จัดส่ง แต่ก็ยังไม่ส่งเท่านั้น มิได้มีผลเป็นการเลิก เพิกถอน ลบชื่อ
นิติบุคคลดังกล่าวแต่อย่างใด เว้นแต่จะเข้าด้วยเหตุเลิกอื่นๆ เช่น การไม่จัดส่งรายงาน
กิจการเป็นเวลาสองปีติดต่อกัน และไม่นำพาต่อคำสั่งของเจ้าพนักงาน อาจถือว่า
เป็นการหยุดการดำเนินการตั้งแต่สองปีขึ้นไป อันเป็นเหตุให้เลิกนิติบุคคลนั้นๆ ได้ 58
พรรคการเมืองซึ่งไม่ได้จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ภายในเวลาที่กำหนดหรือยื่นโดยไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ยังสามารถยื่นรายงานดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่
คณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งเตือนได้อีกวาระหนึ่ง [นอกจากนี้ ยัง– เพิ่มโดยผู้วิจัย] ...บัญญัติเพิ่มเติมให้คณะ
กรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจสั่งให้พรรคการเมืองรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อน หากพรรคการเมืองที่
ได้รับแจ้งไม่ดำเนินการแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีอำนาจดำเนินการให้ยุบพรรคการเมืองนั้นได้...”
57 โปรดดู ป.พ.พ., ม. 136 และกฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิ การดำเนินกิจการ และการ
ทะเบียนมูลนิธิ พ.ศ. 2545, ข้อ 13; พรบ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542, ม. 66 – 67; พรบ. แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518,
ม. 75 และ ม. 108; พรบ. สมาคมการค้า พ.ศ. 2509, ม. 27 – 28; พรบ. หอการค้า พ.ศ. 2509, ม. 34 – 35.
58 โปรดดู ป.พ.พ., ม. 131 (3) กรณีมูลนิธิ, ม.102 (3) กรณีสมาคม; พรบ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542, ม. 71 (1);
พรบ. แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518, ม. 83 (3) และ ม. 111; พรบ. สมาคมการค้า พ.ศ. 2509, ม. 36 (3); พรบ.
หอการค้า พ.ศ. 2509, ม. 43 (3); นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการรวมกลุ่มซึ่งมีการจดทะเบียนเพื่อการ
ตามกฎหมายเฉพาะ มิใช่การจดทะเบียนเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลเช่น พรบ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนพ.ศ. 2548, ม. 8
วรรคสองกำหนดให้กรมส่งเสริมการเกษตรถอนชื่อวิสาหกิจชุมชนที่ไม่แจ้งความประสงค์ในการดำเนินกิจการเป็น
เวลาสองปีติดต่อกันออกจากทะเบียน.