Page 331 - kpi12821
P. 331
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
51
จากนายทะเบียนมาก่อนก็ฟังไม่ขึ้น หัวหน้าพรรคจะอ้างว่า ติดธุระที่ต่างจังหวัด จึงนำ
ส่งล่าช้าไป 9 วัน ก็ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน เพราะอันที่จริง มีช่องทางและโอกาสในการ
มอบหมายเป็นหนังสือให้กรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ นำส่งแทนตนก็ได้ ที่ผ่านมา
52
ศาลจึงมักจะสั่งยุบพรรคการเมืองเหล่านั้น
อย่างไรก็ดี การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดในลักษณะดังกล่าวก็ถูกวิพากษ์
วิจารณ์อย่างมากกว่าไม่เหมาะสมหรือขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
พรรคการเมือง ดังนั้น เมื่อคราวปรับปรุงกฎหมายพรรคการเมืองครั้งล่าสุด จึงได้มีการ
53
กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติม ให้อำนาจนายทะเบียนสั่งให้พรรคการเมืองที่ยังไม่ส่ง
รายงานทั้งสองฉบับภายในวันที่ 31 มีนาคม ดำเนินการจัดส่งภายในเวลาที่นายทะเบียน
54
กำหนด ซึ่งปกติ มักจะกำหนดไว้ที่ 45 วัน และหลังจากนั้น หากยังไม่ส่ง นายทะเบียน
จะให้โอกาสชี้แจงแสดงเหตุผลอีก 7 วัน หากไม่ชี้แจงหรือชี้แจงแต่ไม่มีเหตุผลอันสมควร
นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของ กกต. ก็จะดำเนินการเพื่อให้มีการยุบ
พรรคการเมืองดังกล่าวต่อไป 55
อนึ่ง ในประเด็นนี้ ผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่า แนวบรรทัดฐานต่างๆ ที่อธิบายมาข้างต้น
โดยเฉพาะในเรื่องเหตุผลและข้ออ้างต่างๆ นั้น น่าจะเปลี่ยนแปลงไปจากหลักเกณฑ์ที่
ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ตามกฎหมายพรรคการเมือง 2541 แล้ว เพราะกฎหมาย
พรรคการเมืองฉบับปัจจุบัน ให้อำนาจแก่นายทะเบียน หรือ กกต. แล้วแต่กรณี ที่จะสั่ง
ให้หัวหน้าพรรคหรือพรรคการเมืองดำเนินการให้ถูกต้อง และอาจพิจารณารับฟัง
เหตุผลอื่นๆ ประกอบได้ และหากเห็นว่า มีเหตุผลอันสมควร จะไม่ดำเนินการเพื่อให้
ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นๆ ก็ได้ 56
51 คดีพรรคสังคมใหม่ - ศร. ที่ 8/2545 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2545 [รจ. ล. 119 ต. 113ก
(12 พฤศจิกายน 2545) น. 204 – 257] น. 206.
52 ศร. ที่ 2/2545 ลงวันที่ 17 มกราคม 2545 [รจ. ล. 1119 ต.90ก (16 กันยายน 2545) น. 159 – 226]
น. 163.
53 คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของศาสตราจารย์ ดร. อมร รักษาสัตย์ ในคดีพรรคถิ่นไทย – ศร. ที่ 1/2545
ลงวันที่ 10 มกราคม 2545 [รจ. ล. 119 ต. 90ก (16 กันยายน 2545) น. 1 – 158] น. 134 – 150.
54 ความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตนของนายนุรักษ์ มาประณีต ในคดีพรรคธัมมาธิปไตย – ศร. ที่
18/2550 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2550 [รจ. ล. 125 ต. 47ก (13 มีนาคม 2551) น. 1 – 68] น. 63 – 64.
55 พรป. พรรคการเมือง 2550, ม. 42 ว. 2; และคดีพรรคพลังเกษตรกร - ศร. ที่ 4-5/2553 ลงวันที่ 31
มีนาคม 2553 [รจ. ล. 127 ต.64ก (19 ตุลาคม 2553) น. 17 – 77] น. 24 – 25.
56 โปรดดู พรป. พรรคการเมือง 2550, ม. 42 วรรคสอง และ ม. 82 ซึ่งอนุโลมใช้มาตรา 42 วรรคสอง; และ
ความเห็นในการวินิจฉัยส่วนตนของนายนุรักษ์ มาประณีต ในคดีที่ตัดสินในช่วงรอยต่อระหว่างกฎหมายเดิมกับ
กฎหมายใหม่หลายคดี เช่น คดีพรรคพลังธรรม - ศร. ที่ 19/2550 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2550 [รจ. ล. 125 ต.49ก
(18 มีนาคม 2551) น. 1 – 112] น. 106 ซึ่งวินิจฉัยไว้ว่า “...เจตนารมณ์ของกฎหมายที่เปิดโอกาสให้